การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ชุด เครื่อง Computer PC Set
Computer หรือ
เครื่องคอมพิวเตอร์ ในที่นี้จะกล่าวถึง
Computer PC หรือ
เครื่องคอมพิวเตอร์ พีซี อะไรจะเป็นตัววัดความคุ้มค่าของ
พีซี ได้ ดีที่สุด เท่าที่เคยใช้ๆ ก็เห็นจะเป็นซอฟต์แวร์ทดสอบ หรือไม่ก็ราคาที่แพง บางคนก็มองแค่ภายนอกด้วยซ้ำว่าเครื่องนี้ดูสวยดี ใช้ซีพียูความเร็วสูงๆ แถมราคาสูงๆ ก็ซื้อเลย แต่ไม่ได้มองเจาะไปถึงการนำไปใช้งานของตัวเองเลยว่าจะนำไปใช้ได้เต็ม ประสิทธิภาพได้มากแค่ไหน แต่ก็นี่แหละคนไทย
ถ้าจะกล่าวถึง
เครื่อง Computer ชุดที่ขายดีที่สุด ณ ปัจจุบัน ก็เห็นจะปฏิเสธ
เครื่อง คอมพิวเตอร์ สำเร็จรูปที่จัดโดยรัฐบาล ในโครงการเครื่อง
คอมพิวเตอร์ (
Computer) เอื้ออาทร ไปไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะสามารถจุดกระแสให้ประชาชนหันมาใช้เครื่อง
Computer กันมากขึ้นแล้ว ก็ยังเป็นการกระตุ้นตลาด เครื่อง
คอมพิวเตอร์ ในบ้านเราด้วย ทำให้ผู้ผลิต
เครื่อง Computer รายต่างๆ ขายดิบขายดีไปตามๆ กัน
การเลือกซื้อ เครื่อง คอมพิวเตอร์ ของผู้ใช้ทั่วๆไปก็จะมีอยู่ 2 แบบ สำหรับแบบแรกนั้นก็คงจะเดินไปจัดสเปคเครื่องตามร้านขาย
อุปกรณ์ Computer กันเอง เปรียบเทียบราคาของแต่ละร้านหาร้านที่มีราคาถูกแล้วก็นำไปประกอบด้วยตนเอง หรือไม่ก็ให้ทางร้านที่เราซื้อ
อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ร้าน ใดร้านหนึ่งเป็น ผู้ประกอบเครื่องให้ ซึ่งบางทีร้านเขาอาจจะคิดค่าบริการในส่วนนี้เพิ่มขึ้นอีกนิดหน่อย สำหรับการเลือกซื้อแบบแรกนั้นน่าจะเหมาะสำหรับ ผู้ที่มีความรู้ทางด้าน
อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ อยู่บ้าง มาดูแบบที่สองกันบ้างครับ สำหรับการเลือกซื้อแบบที่สองนั้นน่าจะเหมาะกับผู้ใช้มือใหม่ หรือผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้ในด้าน
อุปกรณ์ Computer เลย ซึ่งผู้ใช้ ประเภทนี้มักจะให้ทางร้านเขาจัดสเปคให้เลย โดยจะกำหนดราคาเครื่องที ต้องการใช้ให้ทางร้านไป หรือผู้ใช้บางคนที่ไม่ต้องการความยุ่งยากในการเลือกซื้อ หรือต้องการ การรับประกันจากผู้ผลิตที่ดีๆ ก็อาจจะหันไปมอง เครื่อง
Computer ที่เป็น
คอมพิวเตอร์ แบรนด์เนมจากผู้ผลิตทั้งใน หรือต่างประเทศที่นำออกมาวางขายในตลาดบ้านเรากันมากมาย หลากหลายยี่ห้อ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันผู้ใช้จะสามารถซื้อ
เครื่อง Computer ได้ง่ายขึ้นเพียงแค่ชี้นิ้ว หรือแค่บอกความต้องการนำไปใช้งานของตนกับผู้ขาย เพื่อให้ผู้ขายจัดสเปคเครื่องให้ แล้วก็เหลือ เพียงแค่ขนเครื่องที่ซื้อมากลับไปบ้านเท่านั้นเอง
ซึ่งบางทีผู้ซื้อก็อาจจะเสียเปรียบเพราะอุปกรณ์ที่ทางร้านเขาจัดให้ นั้นอาจจะมีราคาที่ถูกกว่าเงินที่ท่านจ่าย หรืออาจจะติดตั้งอุปกรณ์ที่ไม่มีคุณภาพให้ เพื่อให้ทางร้านได้ กำไรเยอะๆ จากตรงส่วนนี้ ซึ่งสำหรับ
เครื่อง คอมพิวเตอร์ สำเร็จรูป ที่จัดโดยค่ายผู้ผลิตแบรนด์เนมต่างๆก็คงไม่มีปัญหาอะไร เพราะถ้าเครื่องมีปัญหาผู้ซื้อก็สามารถส่งเคลมได้ทันที แต่สำหรับเครื่องที่ทางร้านจัดสเปคให้นั้น ซึ่งถึงแม้จะมีการรับประกัน Void จากทางร้านมาแล้ว แต่บางทีอุปกรณ์บางชิ้นก็อาจไม่ได้คุณภาพและทางผู้ผลิตก็ไม่รับประกันด้วย เช่น พวก
อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ปลอมต่างๆ ดังนั้นก่อนที่จะซื้อ
เครื่อง Computer คู่ใจซักเครื่อง เราลองมาดูหน้าที่การทำงานของอุปกรณ์แต่ละชิ้น รวมถึงวิธีการเลือกซื้อ แบบมี ประสิทธิภาพ ทำยังไงไม่ให้โดนหลอกกันครับ
ส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ (Computer)
สำหรับ
เครื่อง Computer เครื่องๆ หนึ่งนั้นจะประกอบด้วยส่วนสำคัญๆ และแยกกันทำงานแตกต่างกันออกไปซึ่ง
คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง จำเป็นต้องอาศัย
ส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์เหล่านี้เพื่อที่จะทำงานร่วมกัน และประมวลผลออกมาเป็นข้อมูลที่นำเสนอออกมาทางด้านต่างๆ ว่าจะเป็นภาพ, เสียง และเอกสารต่างๆ ซึ่ง
ส่วนประกอบ Computer จะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ดังต่อไปนี้
หน่วยประมวลผลหลัก (CPU) เป็น
ส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ในการควบคุมการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ซึ่งรวมถึงการอ่าน การคำนวณ และแปลค่าสัญญาณต่างๆ ที่ได้มาจากอุปกรณ์ Input และ
อุปกรณ์ Computer ในการเก็บข้อมูลอย่างเช่น Hard Disk และ RAM เพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำไปแสดงผล สำหรับซีพียูนั้นนับว่าเป็นปัจจัยแรกๆ ที่ผู้ซื้อควรจะมอง เพราะว่ามันจะ บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของ
คอมพิวเตอร์ เครื่องนั้นๆ ได้ดีที่สุด ว่าซีพียูตัวนี้ความเร็วขนาดนี้น่าจะใช้งานในระดับไหนได้ดี โดยมักจะแบ่งการใช้งานเป็นหลัก เช่น ใช้งานเอกสารทั่วไป ใช้เล่นเกม 3D, 2D ที่มีความละเอียดสูงๆ หรือใช้งานทางด้านมัลติมีเดียความบันเทิงต่างๆ สำหรับซีพียูที่ออกมาวางขายในปัจจุบันนั้นก็จะมีอยู่ 2 ค่าย ได้แก่ ค่ายอินเทล และ ค่ายเอเอ็มดี โดยอินเทลจะมาด้วยซีพียู Intel Pentium4 กับ Intel celeron กับซ็อกเก็ต 478 ที่จะรองรับกับความเร็วบัส (FSB) ที่ 400, 533 และ 800MHz ส่วนซีพียูจากค่าย เอเอ็มดี นั้นก็จะมาด้วย AMD Athlon XP กับซ็อกเก็ต 462 ที่รองรับความเร็วบัส (FSB) ตั้งแต่ 200, 266 และ 333MHz และ AMD Athlon64 กับซ็อกเก็ต 754 ที่รองรับความเร็วบัส (FSB) 1600MHz
เมนบอร์ด (Mainboard) เป็น
ส่วนประกอบ Computer และเป็นอุปกรณ์หลักในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ใน
เครื่อง Computer เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจะทำหน้าที่ในการรับ/ส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้สามารถส่งผ่าน ข้อมูล ซึ่งกันและกันได้ โดยผ่านส่วนควบคุมนั้นคือ ชิปเซต (Chipset) เมื่อผู้ซื้อทำตกลงใจที่จะใช้งาน ซีพียู ตัวไหนแล้ว ต่อไปเราก็มาทำการเลือกซื้อ เมนบอร์ด ที่จะมาใช้งานร่วม กับ ตัวซีพียู เมนบอร์ดที่วางขายกันหลายรุ่นหลายยี่ห้อก็อาจจะทำให้ผู้ซื้อตาลายไปเลยก็ได้ เพราะไม่รู้จะเลือกใช้เมนบอร์ดรุ่นไหนตัวไหนดี สำหรับเมนบอร์ด ที่มีวางขายอยู่ ใน บ้านเราก็จะมีรายชื่อดังต่อไปนี้ ABIT, Albatron, ASROCK, ASUS, DFI, ECS, Gigabyte, Intel, Iwill, LEMEL, MSI, SHUTTLE, MATSONIC และ P&A
ซึ่งบางยี่ห้อก็จะทำเมนบอร์ดออกมารองรับกับซีพียูจากทั้งค่ายเลยก็มี เมื่อเราได้ซีพียูที่ต้องการมาแล้วต่อไปก็มาดูว่ามีเมนบอร์ดตัวไหนบ้างที่ รองรับกับซีพียูตัวนี้ ซึ่งถ้าเป็นซีพียูจากค่ายอินเทล ก็จะต้องใช้เมนบอร์ดที่รองรับซีพียูซ็อกเก็ต 478 ส่วนถ้าเลือกใช้ซีพียูจากค่ายเอเอ็มดีก็จะต้องเลือกใช้เมนบอร์ดซ็อกเก็ต 462 หรือ ซ็อกเก็ต 754 กับซีพียูแบบ 64 บิต ขั้นที่สองก็ต้องมาดูว่าซีพียูของท่านสามารถรองรับกับความเร็วบัสขนาดเท่าใด บ้าง ซึ่งผู้ซื้อจะต้องเลือกเมนบอร์ดที่สามารถรองรับกับความเร็วบัส ของซีพียูที่ใช้ได้ อย่างเช่น ถ้าท่านใช้ Intel Pentium4 กับขนาดความเร็วที่ 800MHz ท่านก็จะต้องซื้อเมนบอร์ดที่สนับสนุนความเร็วบัสที่ 800MHz หรือสนับสนุนเทคโนโลยี ไฮเปอร์-เธรดดิ้ง ด้วย แต่ถ้าถามว่าถ้าใช้ซีพียูความเร็วบัสเพียง 400 หรือ 533MHz แล้วอยากจะใช้เมนบอร์ดความเร็วบัส 800MHz จะได้ไหม คำตอบก็คือได้ครับ ถ้าท่านจะซื้อเผื่อการอัพเกรดซีพียูในอนาคตด้วย แต่มีข้อแนะนำอยู่นิดหนึ่งก็คือ ในยุคสมัยนี้เทคโนโลยีทางด้าน
Computer (
คอมพิวเตอร์) ได้มีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนา ไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีเก่าๆ ได้ถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ พอถึงวันหนึ่งที่ท่านอยากจะเปลี่ยนซีพียูตัวใหม่ วันนั้นเมนบอร์ดของท่านอาจจะไม่สนับสนุนซีพียูตัวใหม่ แล้วก็ได้ ดังนั้นเวลาจะซื้อควรเน้นการใช้งานในขณะปัจจุบันจะดีกว่าครับ
หน่วยความจำ (RAM) สำหรับหน่วยความจำนั้นเป็น
อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่ในการเก็บ และพักข้อมูลที่รอการประมวลผล หรือทำการประมวลผลเสร็จแล้ว เพื่อนำไปใช้ใน การแสดงผลของข้อมูล และยังสามารถที่จะทำการเก็บข้อมูล หรือคำสั่งที่ถูกเรียกใช้บ่อยๆ เพื่อให้การทำงานของระบบรวดเร็วขึ้น แรมเป็นอุปกรณ์ชิ้นที่สามที่ควรจะมอง แรมที่วางขายอยู่ในท้องตลาดก็จะมีอยู่ 2 แบบ คือ SDRAM และ DDR-SDRAM แต่สำหรับแรมที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันก็คงจะเป็นแรมในแบบ DDR-SDRAM การเลือกใช้แรมก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะถ้าเลือกใช้แรมไม่ดี หรือไม่ถูกต้องก็อาจจะทำให้
เครื่อง คอมพิวเตอร์ (
Computer) ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น สำหรับแรมก็มีให้เลือกใช้มากมายหลายยี่ห้อด้วยกัน ซึ่งแต่ละยี่ห้อก็จะแบ่งออกเป็นด้านของขนาดความจุ และขนาดความเร็ว ในฝั่งของ SDRAM ที่ใช้ซ็อกเก็ตแบบ 168 pin นั้นจะมีความเร็วที่ PC133 ซึ่งก็จะมีขนาดของหน่วยความจำมาให้เลือกติดตั้งตั้งแต่ 128, 256 และ 512MB ครับ ส่วนทางฝั่งแรมแบบ DDR นั้นก็มีมาให้เลือก ใช้อยู่หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น PC2100 (266MHz) แต่ถ้าคุณต้องการใช้งาน ซีพียู ที่มีความเร็วบัส 533MHz นั้น ควรที่จะหาซื้อ PC2700 (333MHz) หรือถ้าใช้ซีพียู ที่มีความเร็วบัส 800MHz แรมที่ใช้ก็ควรจะเป็นแบบ PC3200 (400MHz) มากกว่า เพราะจะสามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ถ้าเมนบอร์ดที่ท่านใช้สนับสนุนแรมแบบคู่ หรือ Dual-channel ด้วย แล้วท่านติดตั้งแรมเป็นคู่ด้วยก็จะดีมาก เพราะจะทำให้การทำงานของแรมมีประสิทธิภาพที่สูงมากขึ้น สำหรับขนาดความจุที่มีก็จะมี 128, 256, 512 และ 1024MB หรือ 1GB ในส่วนของราคาของแรมทั้งในแบบ SDRAM และ DDR-RAM ก็จะไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก ทางดีที่เลือกใช้เมนบอร์ด ที่สนับสนุนแรม แบบ DDR ไปเลยจะดีกว่า และเมนบอร์ดที่สนับสนุนแรมในแบบ SDRAM ก็หาได้ยากแล้วในท้องตลาด
ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ที่ใช้งานในระบบของ
เครื่อง Computer เป็นแหล่งเก็บข้อมูลหลักของ
เครื่อง คอมพิวเตอร์ ซึ่ง ถ้ามีความจุสูงๆ ก็สามารถที่จะเก็บข้อมูลได้ในปริมาณได้มากๆ จะว่าไปแล้วฮาร์ดดิสก์ที่ออกมาวางขายนั้นก็มีมากมายหลายยี่ห้อ ซึ่งแต่ละยี่ห้อก็จะมีคุณภาพที่ไม่ค่อยจะแตกต่างกันมากนัก รสนิยมการเลือกใช้ฮาร์ดดิสก์ของคนไทยอย่างเราๆ ก็คงจะดูที่ยี่ห้อ กับการรับประกันหลังการขายกันมากกว่า โดยมักจะสอบถามจากผู้ที่เคยใช้มาก่อนว่าฮาร์ดดิสก์ตัวนี้ยี่ห้อนี้เป็น อย่างไร เวลาส่งเคลมแล้วรวดเร็วหรือไม่ เพราะฮาร์ดดิสก์นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานหนักที่สุดในเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ดัง นั้นการรับประกันจึงมักเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ควรจะดูด้วย ซึ่งก็จะมีการรับประกันตั้งแต่่ 1 ปี, 3 ปี และ 5 ปี ตามแต่ละยี่ห้อและชนิดของฮาร์ดดิสก์ นอกจากฮาร์ดดิสก์แบบ Ultra 160 SCSI ที่นิยมใช้กับเครื่อง
Computer ระดับสูงๆ อย่างเครื่อง Server แล้ว ฮาร์ดดิสก์สำหรับ
เครื่อง คอมพิวเตอร์ (
Computer) ทั่วไปก็จะมีให้เลือกอยู่ 3 แบบ โดยจะแบ่งตามมาตรฐานการโอนถ่ายข้อมูล และอินเทอร์เฟซที่ใช้เชื่อมต่อ ซึ่งก็จะมี ATA/100, ATA/133 และแบบ SATA 150 ที่มีขนาดของหน่วยความจำบัฟเฟอร์ 8MB ซึ่งมากกว่าในแบบ ATA ที่มีเพียงแค่ 2MB ดังนั้นฮาร์ดดิสก์แบบ Serial ATA จึงมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลที่รวดเร็วกว่า ถ้าเมนบอร์ดของท่านสนับสนุน SATA 150 ด้วยก็น่าจะติดตั้งใช้งานฮาร์ดดิสก์แบบ Serial ATA ไปเลย เพราะราคาของ ฮาร์ดดิสก์แบบนี้ก็ไม่ค่อยแตกต่างกับแบบ IDE แล้ว ด้านความเร็วในการส่วนของจากหมุนก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม ความเร็วจะมีตั้งแต่ 5400, 7200, 10000 โดยจะมีหน่วยเป็น rpm หรือ รอบ/นาที ส่วนความเร็ว 10000 และ 15000 ก็มักจะมีใช้ในฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI ครับ ทางด้านขนาดความจุอันนี้ก็แล้วแต่การนำไปใช้งานครับ ว่าต้องการขนาดพื้นที่เท่าไร
กราฟิกการ์ด (VGA Card) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลภาพออกทางจอแสดงผล โดยส่วนใหญ่แล้วในตอนนี้นั้น กราฟิกการ์ดจะเป็นการ์ดแบบที่สามารถแสดงผลได้ทั้ง 3 มิติ และ 2 มิติไปในตัว เพื่อการใช้งานที่หลากหลาย โดยกราฟิกการ์ดนั้นจะมีหน่วยประมวลผลหรือที่เรียกว่า GPU เป็นของตัวเอง โดยจะไม่พึ่ง CPU ในการประมวลข้อมูล ทางด้านกราฟิก และกราฟิกการ์ดนั้นยังมีหน่วยความจำเป็นของตัวเองไม่ได้ใช้ร่วมกับหน่วยความ จำหลักหรือ RAM ปัจจุบันนี้กราฟิกการ์ดที่มีขาย อยู่นั้นส่วยใหญ่แล้ว จะเป็น จำพวก 3D Card ซึ่งใช้สำหรับการเล่นเกมส์ และประมวลผลภาพ 3 มิติ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูง ซึ่งก็มีผู้ที่ผลิตชิปรายใหญ่อยู่ 2-3ราย นั้นก็คือ nVIDIA, ATi และ SiS ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิป 3 มิติระดับคุณภาพสูง และมีขายอยู่ในตลาดบ้านเรามากมายหลายยี่ห้อ ซึ่งการเลือกซื้อการ์ดจอนั้น ควรจะดูที่งบประมาณในการซื้อ เป็นส่วนใหญ่ เพราะว่าการ์ดที่มีคุณภาพในการแสดงผลในระดับสูงราคาจะแพงมาก ซึ่งจะทำให้งบประมาณในการซื้อ
เครื่อง Computer คอมพิวเตอร์ สูงขึ้นตามไปอีกด้วย ทั้งนี้เมนบอร์ดของท่านจะต้อง มีสล็อต AGP สนับสนุนอยู่ด้วย ซึ่งเมนบอร์ดบางตัวที่สนับสนุนการ์ดแสดงผลแบบออนบอร์ดไว้แล้วมักจะไม่ติด ตั้งสล็อต AGP มาให้ ความเร็วของระบบกราฟิกบัส ก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ไม่ควรมองข้าม ถ้าเมนบอร์ดสนับสนุน AGP 8X ก็ควรใช้การ์ดแสดงผลแบบ AGP 8X ด้วย ซึ่งก็จะทำให้งานทางด้านภาพสามารถ ทำได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพ ลักษณะการเลือกใช้ถ้าต้องการความละเอียดในการแสดงผลสูงๆ ก็ควรจะใช้หน่วยความจำขนาดสูงๆด้วย ซึ่งขนาดของหน่วยความจำก็จะมีให้เลือกตั้งแต่ 32, 64, 128, 256MB
การ์ดเสียง (Sound Card) ในส่วนของการ์ดแสดงผลทางด้านเสียงนั้นก็เป็นส่วนสำคัญในการแสดงผลทางด้าน มัลติมีเดียซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะใช้งานกันมาก ซึ่งตอนนี้ นั้นได้ถูกปรับปรุง และทำการพัฒนาให้สามารถที่จะทำการส่งสัญญาณเสียงได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น 2.1, 4.1, 5.1, 6.1 และ 7.1 ซึ่งถ้าใช้จำนวนช่องมาก ก็จะทำให้ระบบเสียงนั้นสมบูรณ์แบบเพิ่มขึ้น และปัจจุบันก็จะมีให้เลือกใช้ทั้งแบบที่ติดตั้งภายใน หรือติดตั้งภายนอก หรือแม้แต่ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ ก็จะมีซาวนด์การ์ดแบบ ออนบอร์ด ติดตั้งให้เกือบทั้งหมดแล้ว ซึ่งบางท่านที่ไม่ค่อยใส่ใจมากนักก็อาจจะใช้เพียงแค่ออนบอร์ดเท่านั้น
ไดร์ฟ (Drive) ในส่วนของการเลือกซื้อ ไดร์ฟ นั้น สามารถที่จะเลือกซื้อให้เหมาะสมกับการใช้งานได้ เพราะว่าในตอนนี้นั้นไดร์ฟต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ตัว CD-ROM, DVD, CD-RW, DVD-CDRW หรือแม้แต่ DVD-RW นั้น ได้มีราคาที่ลดลงมาก ทำให้การเลือกซื้อเป็นไปได้ง่ายขึ้น สำหรับการเลือกซื้อนั้นให้ดูถึง ลักษณ์ของการ ใช้งาน เป็นหลักจะดีกว่า ว่าเน้นหนักไปใช้ในงานด้านไหนบ้าง จะใช้เพียงแค่อ่านแผ่น หรือจะใช้แบบบันทึกข้อมูลได้ด้วย ด้านความเร็วในการเขียน หรือความเร็วในการอ่าน ก็มีมา ให้เลือกใช้อย่างมากมาย สำหรับว่าควรจะเลือกใช้แบบที่ติดตั้งภายใน หรือภายนอกดี อาจจะเป็นคำถามของหลายๆคนอยู่ในตอนนี้ ก็ง่ายๆครับ ถ้าจำเป็นที่จะต้องเคลื่อนย้ายบ่อยๆ และไม่ชอบที่จะถอดเข้าถอดออกไดร์ฟบ่อยๆ ก็น่าจะใช้แบบติดตั้งภายนอกไปเลย แต่แบบติดตั้งภายนอกจะมีราคาที่สูงกว่าแบบติดตั้งภายในอยู่ค่อนข้างมาก ในส่วนของ 1.44MB floppy drives นั้นก็ยังเป็นมาตรฐานเดิมซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรไปมากครับ
จอมอนิเตอร์ (Monitor) นับว่าเป็น
อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ใน ส่วนอุปกรณ์ Output ที่จะขาดไปเสียไม่ได้เลย เพราะถ้าได้มอนิเตอร์ที่มีคุณภาพดี ก็จะทำให้ผู้ใช้สามารถรับชมภาพที่มีคุณภาพที่ดีด้วย และการใช้งาน
เครื่อง คอมพิวเตอร์ เป็น เวลานานๆ จอมอนิเตอร์ที่ดียังเป็นการช่วยในการถนอมสายตาของผู้ใช้อีกด้วย มอนิเตอร์ที่มีขายในปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ แบบ CRT กับแบบ LCD ซึ่งในแบบ CRT ก็จะแตกแยกย่อยออกเป็นอีกหลายแบบ เช่น Flat, Digital, Flattron หรือ FD Triniton และยังมีอีกหลายแบบตามแต่ละ เทคโนโลยีการผลิตของแต่ละค่าย ขนาดของจอภาพก็เป็นสิ่งที่ผู้ซื้อควรจะมองเป็นอันดับแรก เพราะถ้าจอภาพมีขนาดใหญ่ก็จะทำให้การรับชมภาพของท่านสบายตามากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ก็จะต้องขึ้นอยู่กับความละเอียดสูงสุด และอัตราการปรับ Rrfresh Rate ของมอนิเตอร์แต่ละตัวด้วยว่าสนับสนุนได้เพียงเท่าใด สำหรับจอ CRT ขนาด 15 นิ้วนั้น จะสามารถปรับความละเอียดสูงสุดได้ที่ 1024 x 768 ที่และอัตราการปรับ Rrfresh Rate 75MHz ส่วนขนาด 17 นิ้ว ก็จะมีตั้งแต่ 1280 x 1024, 1600 x 1200 กับ Rrfresh Rateที่ 75 และ 85MHz ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับยี่ห้อ และรุ่นของแต่ละค่าย ส่วนแบบ 19 นิ้ว และ 21 นิ้ว ก็ปรับความละเอียดได้สูงสุดที่ 1600 x 1200,1792 x 1374, 1920 x 1440, 2048 x 1536 และ Rrfresh Rateที่ 85MHz ครับ ทางด้านจอมอนิเตอร์แบบ LCD ก็จะคล้ายๆ กับ CRT ในเรื่องของการปรับค่าความละเอียดสูงสุด แต่ก็จะปรับได้ไม่เกิน 1280 x 1024 และสามารถปรับ Rrfresh Rate ได้แค่เพียง 75MHz เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นจอขนาด 14,15, 17, 18 หรือ 19 นิ้ว
เคส และเพาเวอร์ซัพพลาย (Case & Power Supply) ในส่วนของเคสนั้น จะว่าไปแล้วก็เหมือนกับหน้าตาของเครื่อง
Computer เลยก็ว่าได้ เพราะถ้าได้เคสคุณภาพดี และสวยงามก็จะทำให้เครื่อง
คอมพิวเตอร์ (
Computer) ของท่านมีประสิทธิภาพ และน่าใช้มากขึ้น ถ้าจะให้ดีนั้น ในการเลือกซื้อก็ควรที่จะเลือกซื้อเคสที่มีขนาดพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์กว้างๆ เพื่อที่จะติดตั้งอุปกรณ์ได้มากขึ้น หรือสามารถระบายความร้อนภายในเครื่องได้อย่างรวดเร็ว หรือถ้าหาเคสที่มีพัดลมระบายความร้อนเยอะๆ ก็จะดีมาก สำหรับตัว เพาเวอร์ซัพพลาย นั้นส่วนใหญ่แล้วก็จะให้มากับเคสเลย ในเวลาที่ซื้อเครื่อง
Computer ซึ่งตัวเพาเวอร์ซัพพลาย นี้จะทำหน้าที่ในการจ่ายไฟฟ้าไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของ
อุปกรณ์ Computer ให้สามารถที่จะทำงานได้ ซึ่งถ้าเราเลือกซื้อตัว เพาเวอร์ซัพพลาย ที่มีกำลังจ่ายมากอย่าง 350 วัตต์ - 400 วัตต์ ก็จะสามารถพ่วงต่อกับ
อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ อื่นๆ ได้มากขึ้น
แลน และโมเด็ม (LAN & Modem)
อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ สอง ประเภทนี้นับว่าเป็นสองอุปกรณ์ที่มีความสำคัญต่อการใช้งานในยุคปัจจุบันได้ อย่างมากทีเดียว เพราะทั้งสอง อุปกรณ์ จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนช่องทางในการสื่อสารระหว่างเครื่อง
Computer เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ เรามาดูในส่วนของแลนกันก่อนครับ โดยส่วนมากแล้ว การ์ดแลน มักจะถูกติดตั้งแบบออนบอร์ดมากับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ ซึ่งก็มีทั้งความเร็ว 10/100Mbps และ 10/100/1000Mbps หรือถ้าไม่มีก็สามารถซื้อหามาติดตั้งเพิ่มเติมได้ ซึ่งก็จะมีให้เลือกใช้ทั้งแบบติดตั้งภายใน และแบบติดตั้งภายนอก แต่แนะนำให้ใช้แบบติดตั้งภายในกับสล็อต PCI มากกว่า ทางโมเด็มนั้นก็จะกำหนดก่อนว่าจะใช้อินเทอร์เน็ต ในรูปแบบใดบ้าง ถ้าใช้เชื่อมต่อแบบธรรมดา ก็ใช้โมเด็มแบบอนาล็อก 56K แต่ถ้าใช้แบบความเร็วสูง อย่างเช่น ADSL ก็จะต้องใช้โมเด็มในแบบ ADSL ซึ่งก็จะมีให้เลือกใช้ ทั้งแบบที่ติดตั้งภายใน หรือแบบที่ติดตั้งภายนอกเหมือนกันครับ
เมาส์ คีย์บอร์ด และลำโพง สำหรับอุปกรณ์เหล่านี้นั้นเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าทำหน้าที่อะไรกันบ้าง ซึ่งสามารถที่จะทำการเรียกรวมๆ กันว่าอุปกรณ์มัลติมีเดียเลยก็ว่าได้ เพราะเนื่องจากว่าคีย์บอร์ด กับ เมาส์ในสมัยนี้นั้นสามารถที่จะทำงานอย่างอื่นได้อีกมากมายเลยที่เดียว ในการเลือกซื้อนั้นก็ดูที่ความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก ว่าชอบคีย์บอร์ด หรือเมาส์ลักษณะไหนสีอะไร มีปุ่มฟังก์ชั่นพิเศษที่ช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆ อะไรบ้าง โดยปัจจุบันอุปกรณ์ ทั้งสองแบบก็สามารถ เชื่อมต่อแบบ ไร้สายเพื่อเพิ่มความอิสระในการใช้งานมากขึ้น
ระบบปฏิบัติการ สำหรับการเลือกใช้งานระบบปฏิบัติการให้กับเครื่องใหม่นั้น เราสามารถที่จะทำการเลือกใช้ตามประสิทธิภาพของเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ใหม่ได้ ซึ่ง เครื่อง
Computer ใหม่ๆ ในปัจจุบันส่วนใหญ่นั้น สามารถที่จะใช้งานกับระบบปฏิบัติการได้เกือบๆ ทุกรุ่นไม่ว่าจะเป็น Windows 98se, ME, XP, 2000 หรือแม้แต่พวก Linux เองก็ตาม โดยการเลือกใช้นั้นควรดูที่ความต้องการ และความถนัดในการใช้งานของผู้ใช้งานเป็นหลัก
การรับประกัน มาถึงขั้นตอนสุดท้ายใน
การเลือกซื้อ เครื่อง
Computer คอมพิวเตอร์ คู่ใจแล้วครับ และเป็นขั้นตอนที่ผู้ซื้อจะมองข้ามไปไม่ได้เลย นั้นคือการรับประกันหลังการขาย เพราะถ้า การบริการหลักการขายดีเวลาที่ เครื่อง
Computer มีปัญหาผู้ใช้ก็สามารถยกไปให้ทางร้านได้ทันที โดยวิธีการสังเกตว่าร้านไหนดีหรือไม่ดีนั้น ท่านอาจจะลองสอบถาม ผู้ที่เคยซื้อ
อุปกรณ์ Computer หรือเครื่อง
คอมพิวเตอร์ จากร้าน นั้นๆ ดูว่าการบริการหลังการขายของร้านนั้นๆ ดีหรือไม่ เป็นร้านที่เปิดขายมานานหรือยัง ขนาดร้านใหญ่หรือเล็ก เพื่อลด ความเสี่ยงว่าเมื่อซื้อ
เครื่อง Computer จากทางร้านเขาแล้ว จะไม่โดนปล่อยเกาะ เพราะร้านปิดกิจการ หรือปิดร้านหนีไป การสังเกตสติกเกอร์รับประกัน หรือ Void ที่ติดอยู่ บนตัวสิ้นค้าก่อนออกจากร้านซักนิดก็จะดี ว่าทางร้านเขาได้ติกระยะการรับประกันถูกต้องหรือ เพื่อปกป้องสิทธิของท่านเองครับ
สรุปแล้วการเลือกซื้ออุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ นั้นควรที่จะมีการวางแผนในการเลือกซื้อไว้ก่อนล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นเครื่องที่จะจัดสเปคเอง หรือเครื่อง
Computer แบรนด์เนม รายค่ายต่างๆ และควรพิจารณาถึงความต้องการนำไปใช้งานเป็นหลัก เพื่อให้
เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เราใช้งานนั้นสามารถที่จะเอื้ออำนวย ในการทำงานของ ผู้ใช้ได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพ ซึ่งการคัดเลือกซื้อเครื่อง
คอมพิวเตอร์ (
Computer) นั้นผู้ใช้งานเท่านั้นที่จะสามารถจะกำหนดขอบข่าย และสเปคของเครื่องตัวเองได้เหมาะสมที่สุดครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น