BAREBONE นวัตกรรมใหม่ เอาใจผู้ใช้ PC ขนาดเล็ก
Barebone Personal Computer หรือ PC มีการพัฒนาขึ้นมาอยู่หลายรูปแบบแต่ที่เรารู้จักและคุ้นเคยกันมากที่สุดก็ เห็นจะเป็นในแบบเดสก์ท็อป เพราะ เครื่องคอมพิวเตอร์ในแบบเดสก์ ท็อปสามารถติดตั้งใช้งานได้ง่าย ดูแลรักษาง่าย รวมไปถึงมีราคาที่ถูกกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในแบบอื่นๆ แต่มันก็จะมีข้อจำกัด ของการพกพานำไปใช้งานใน ที่ต่างๆ เพราะขนาดที่ใหญ่เทอะทะ น้ำหนักที่มาก จึงทำให้เวลาจะนำไปใช้งาน ในสถานที่ต่างๆ ทำได้ ไม่สะดวกเท่าที่ควร ดังนั้น จ้าวเครื่องคอมพิวเตอร์ ในแบบเดสก์ท็อปจึงจะเหมาะกับการใช้งานตามบ้าน หรือตามสำนักงานที่ไม่ต้องเคลื่อนย้ายเครื่องคอมพิวเตอร์บ่อยๆ มากกว่า ส่วนความต้องการเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่สามารถ นำออกไปใช้งานใน ต่าง สถานที่นั้นจึงถูกทดแทนด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างอย่าง โน้ตบุ๊ก และพีดีเอที่มีราคาแพง และทำการติดตั้ง อุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงทำการอัพเกรดได้ยากกว่าในแบบเดสก์ท็อป
ในปัจจุบันจึงมีผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์หลายรายพยายามคิดหาวิธี ลดขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์ในแบบเดสก์ท็อปแทน เพื่อที่จะลดข้อจำกัดในการ ติดตั้งอุปกรณ์ของโน้ตบุก และพีดีเอ รวมถึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ใช้ด้วย และในที่สุดผู้ผลิตก็สามารถหาคำตอบเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ขนาดเล็กให้ผู้ใช้ ได้อย่างลงตัวนั้นก็คือจ้าวเครื่องคอมพิวเตอร์ Barebone
Barebone PC ขนาดเล็ก
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่มีการลดขนาดของอุปกรณ์หลายๆ อย่างภายในเคสลง เพื่อที่จะให้สามารถติดตั้งลงในเคสที่มีขนาด เล็กได้ อุปกรณ์ที่ได้รับการลดขนาด ที่จะเห็นเด่นชัด ที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้น เมนบอร์ด สำหรับเมนบอร์ดติดตั้งมาพร้อม Barebone แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อนั้นจะ ถูกผลิตขึ้นมาใช้ กับ Barebone ตัวนั้นโดยเฉพาะ และไม่มีการแยกออกมาขายตามท้องตลาด ซึ่งเมนบอร์ดที่ใช้ในเครื่อง ประเภทนี้ส่วนมาก มักจะเป็น เมนบอร์ดในแบบ ALL-IN-ONE หรือ เมนบอร์ดที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ไว้บนเมนบอร์ดโดยไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เรียกได้ว่าพร้อมใช้งานนั้นแหละ อาทิเช่น การ์ดแสดงผล ในแบบออนบอร์ด ซาวด์การ์ด ในแบบออนบอร์ด และการ์ดแลนในแบบออนบอร์ด ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ และซีดีรอมนั้น ทางบริษัทผู้ผลิต ไม่ได้ติดตั้งมาให้ด้วย ฉะนั้นผู้ซื้อจะต้องไปซื้ออุปกรณ์พวกนี้มาทำการติดตั้งเอง
ก่อนอื่นเรามาดูวัสดุที่นำมาผลิตตัวเคส (Chassis Material) กันก่อน วัสดุที่นิยมนำมาผลิตตัวถังของเคสนั้นมักจะเป็นวัสดุจำพวก อลูมิเนียม และ อะคลิริก ซึ่งจะมีน้ำหนักเบา และมีความแข็งแรงทนทาน เพื่อให้เหมาะแก่การ พกพาไปใช้งาน ลักษณะเคสของจ้าว barebone นั้นจะเป็นแบบ Small Form Factor ซึ่งจะแตกต่างจากเคสของเครื่องคอมพิวเตอร์ในแบบเดสก์ท็อปซึ่งจะมีอยู่ 5 แบบนั้นก็คือ Full Power, Medium Tower, Mini Tower และ Desktop หรือ Slimline ซึ่งเคส แบบ Full Power นั้นจะมีรูปร่างที่สูงที่สุดในบรรดา แบบ Tower ทั้งหมด ส่วน เคส ในแบบ Medium และแบบ Mini นั้นก็จะมีรูปร่างเล็กลงตามลำดับ ซึ่งเคสในแบบ Tower จะ มีลักษณะสูงขึ้นไปด้านบนที่มีลักษณะเหมือนตึก แต่สำหรับ เคส ในแบบ Desktop และ Slimline นั้นจะมีลักษณะที่วางราบตามแนวนอน เพื่อที่จะสามารถวางจอภาพด้านบนของตัวเคสได้
เพาเวอร์ซัพพลายแบบภายนอก เพาเวอร์ซัพพลายแบบภายใน |
เมื่อจ้าว Barebone มีขนาดของเคสที่เล็กกว่าปกติ ฉะนั้นตัวจ่ายไฟหรือที่เรียกกันว่า เพาเวอร์ซัพพลาย ก็ต้องมีจำนวนการ ใช้ไฟที่น้อยกว่าเครื่อง คอมพิวเตอร์ในแบบเดสก์ท็อปด้วย เพราะอุปกรณ์ต่างๆ ใน Barebone จะมีจำนวนที่น้อยกว่า สำหรับเพาเวอร์ซัพพลายที่ใช้ก็จะมีอยู่ 2 แบบ นั้นคือ แบบที่ ติดตั้งภายในเคสที่เราคุ้นเคยกันอยู่กับเครื่องในแบบเดสก์ท็อปทั่วๆไป กับอีกแบบที่จะติดตั้งใช้งานภายนอกเคส หรือที่เรียกว่า อะแดปเตอร์ ซึ่งก็จะมีการออกแบบ มาโดยเฉพาะของแต่ละผู้ผลิตเพื่อที่จะสามารถพกพาไปไหนมาไหนพร้อมกับตัว เครื่องคอมพิวเตอร์ Barebone ได้อย่างสะดวก
Bareboneคอนเน็กเตอร์และพอร์ตมาตรฐาน (Connector & Port)
บนตัวเครื่องนับว่าเป็นช่องอุปกรณ์มาตรฐานที่จะสามารถสร้างจุดขายให้ Barebone แต่ละตัวรองมาจากความสวยงาม และฟังก์ชันใหม่ๆ เลยก็ ว่าได้เพราะยิ่งถ้าทางผู้ผลิตสามารถติดตั้งลงมาให้ในเครื่อง ได้มากเท่าใดมันก็ยิ่งเป็นที่ สนใจของ ผู้ใช้มากขึ้นตาม สำหรับคอนเน็กเตอร์และพอร์ตต่างๆ ของ barebone ก็จะประกอบไปด้วย Keyboard, PS/2 mouse, serial port, VGA port, Parallel port, USB port, RJ-45 port, IEEE1394, SPDIFI/O, Line-Out และ Line-In ที่ส่วนมากก็จะเป็นคอนเน็กเตอร์และพอร์ตที่ใช้งาน ทั่วๆไปอยู่แล้ว นอกจากพอร์ตต่างๆ ที่อยู่ด้านหลังเคส (Rear Panel) แล้ว ที่ด้านหน้าของเคส (Front Panel) ยังมีพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ เพิ่มขึ้นมาอีกเพื่อ การใช้งานที่ง่ายขึ้นของผู้ใช้
เมื่อพูดถึงภายนอกเคสแล้ว ก็ต้องมาดูภายในกันบ้าง การออกแบบภายในเคสนับว่ามีความสำคัญไม่แพ้กับภายนอกเคสเลยเพราะ การที่จะจัดการพื้นที่ ในการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ลงในพื้นที่ที่มีขนาดเล็กได้นั้นเป็น เรื่องที่ลำบาก อยู่พอสมควร เพราะจะต้องคำนึงถึงระบบระบายอากาศภายในด้วย ดังนั้นพัดลม ระบายความร้อนต่างๆ เช่นพัดลมซพียู และฮีทซิงค์ มักจะถูกติดตั้งมาให้ใช้กับ Barebone แต่ละรุ่น โดยเฉพาะซึ่งจะทำให้สามารถระบายความร้อน ออกจาก ซีพียู และตัวเคสได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
พัดลมซีพียู | ฮีทซิงค์ |
ฮีทซิงค์
หรืออุปกรณ์ที่ใช้ระบายความร้อนซึ่งก็จะมีลักษณะและรูปร่างที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับคุณภาพของฮีทซิงค์ และซีพียูที่ใช้ สำหรับวัสดุที่ใช้ ส่วนใหญ่ ก็จะคล้ายๆ กันก็คือ จะเป็นอลูมิเนียมที่มีสีดำ หรือสีเงิน วัสดุอย่าง อลูมิเนียมนั้นจะมีคุณสมบัติในการถ่ายเทความร้อนได้ไม่ดีเท่าวัสดุอย่างเงิน และ ทองแดง แต่ก็จะดีอยู่ตรงที่อลูมิเนียมมีราคาถูก ฉะนั้นผู้คนจึงนิยมนำอลูมิเนียมมาใช้เป็นตัวระบายความร้อน หรือ ฮีทซิงค์ให้กับซีพียูนั้นๆ นอกจากนี้แล้ว ยังมี ซิลิโคน และ Thermal Pad ที่จะช่วยในการระบายความร้อนออกจากซีพียูอีกครับ
FAN
หรือพัดลมระบายความร้อนนั้นจะมีอยู่สองแบบก็คือ พัดลมแบบ Sleeve Bearing สำหรับพัดลมแบบนี้จะมีอัตราความเร็วในการหมุนของใบพัด ประมาณ 3,000-5,000 รอบต่อวินาที และจะมีเสียงในขณะที่พัดลม ทำงานค่อนข้างที่จะดังมากกว่าในแบบ Ball Bearing แต่ราคาถูกและหาซื้อได้ง่ายใน บ้านเราก็ คือ พัดลมตัวเล็ก ๆ ที่ขายหรือแถมมาพร้อมกับซีพียู
พัดลมแบบ Ball Braing ซึ่งพัดลมในแบบนี้จะมีความเร็วของรอบในการหมุนใบที่เร็วกว่าในแบบ Sleeve Bearing ซึ่งความเร็วจะอยู่ที่ ประมาณ 5,000-6,000 รอบต่อนาที และจะมีเสียงขณะทำงานที่เงียบกว่า Sleeve Braring แต่ข้อเสียของพัดลมแบบนี้คือจะมีราคาที่ค่อนข้างแพง และจะหาชื้อได้ยากกว่าฮีทซิงค์ที่น่าสนใจ และโดดเด่นของ barebone ในตลาดบ้านเราก็เห็นจะเป็น ฮีทซิงค์ barebone จากค่าย Shuttle เพราะผู้ผลิต ได้คิดค้นเทคโนโลยี ICE หรือ Integrated Cooling Engine ซึ่งเทคโนโลยีนี้เป็น เทคโนโลยีที่จะช่วยในการระบายความร้อน ที่เกิดจากการทำงานของ ซีพียูให้สามารถลดลงอย่างรวดเร็วกว่า ฮีทซิงค์ในแบบปกติ และพร้อมด้วยเสียงในการทำงานที่เงียบมากขึ้น
โปรเซสเซอร์ (Processor)
หรือ ซีพียู หน่วยประมวลผลกลาง ก่อนจะเลือกซื้อจ้าวเครื่อง barebone ท่านก็ควรจะสังเกตกันซักนิดว่า barebone ตัวนั้นสนับสนุน หรือ รองรับกับซีพียูชนิดใด ด้วยความเร็ว ใน การประมวลผลเท่าไร ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ผลิตก็จะผลิตออกมาร่วมใช้กับซีพียูอยู่ทั้ง สองค่ายอย่าง อินเทล กับซ็อกเก็ต 478 ที่รองรับความเร็วบัส (FSB) ตั้งแต่ 400/533/800 MHz และเอเอ็มดี กับซ็อกเก็ต 462 ที่รองรับความเร็วบัส (FSB) ตั้งแต่ 200/266/333/400 MHz และตัวใหม่อย่างซ็อกเก็ต 754 ที่รองรับความเร็วบัส (FSB) กับ 800 MHz ในการเลือกใช้ซีพียูท่านก็ควรจะมองถึงความ จำเป็นให้มากๆ เพราะซีพียู บางตัว มีราคาที่แพงกว่าจ้าวเครื่อง barebone ซะอีกครับ
DDR-SDRAM |
หน่วยความจำ (Memory)
หรือ Ram (Random Access Memory) สล็อตแรมที่ติดตั้งมาให้ก็จะสนับสนุนแรมในแบบ DDR-SD RAM ทั้งหมด โดยจะรองรับ ตั้งแต่ DDR 200/266/333 และ400 และยังมี barebone บางค่ายสนับสนุนแรมในแบบ Dual-channel ด้วย ซึ่งข้อ ดีของ DDR-SDRAM (Double Data Rate Synchronous Dynamic RAM) ก็คือ การที่ทำงานทั้งรอบขาขึ้นและขาลงของสัญญาณนาฬิกา เช่น SDRAM ที่มีความเร็ว 200 MHz หากเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ DDR SDRAM จะสามารถทำงานได้ที่ความเร็วสูงเป็นเท่าตัว คือ 400 MHz
ฮาร์ดดิสก์
หรือ อุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลทุก ๆ อย่างของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะเก็บตั้งแต่ระบบปฏิบัติการ โปรแกรม และข้อมูลต่าง ๆ สำหรับ ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ ก็จะมีขนาด 3.5 นิ้ว กับมาตรฐาน SATA/ATA-100, ATA133/100 และจะใช้ฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 นิ้วใน barebone บางตัวที่มีขนาดเล็กมากจนไม่ สามารถติดตั้งฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 นิ้วได้ ซึ่งก็จะเห็นได้ใน barebone จากค่าย Iwill รุ่น ZPC
สื่อที่ใช้บันทึก และอ่านข้อมูล
ช่องสำหรับสื่อที่ใช้บันทึก และอ่านข้อมูล ก็มีมาให้ไว้ติดตั้งลงมาให้ก็มีอยู่หลายแบบด้วยกัน อย่างเช่น ฟลอปปี้ดิสก์ ไดร์ฟ ( Floppy Disk Drive) ขนาด 3.5 นิ้ว ความจุ 1.44 MB, CD-ROM, CD-RW, DVD-ROM, DVD/CD-RW combo drive และถ้า barebone ที่มีขนาดเล็กมากไม่ สามารถติดตั้ง CD-ROM ที่มีขนาดใหญ่ๆ ได้ บางผู้ผลิตก็จะติดตั้ง CD-ROM แบบ slim-type ที่ใช้ติดตั้งกับโน้ตบุก มาให้แทน หรือแม้กระทั่งสื่อบันทึก ข้อมูลขนาดเล็ก Card Reader หรือ Media Reader ที่เป็นช่องเสียบด้วยการอ่านในแบบดิจิตอล ซึ่งก็จะมี Memory Stick PRO, Compact Flash Type I, Compact Flash Type II, Smart Media, Secure Digital, Multimedia Card, และ XD-Picture Card มาให้ไว้รองรับ การใช้งานด้วย
สล็อต AGP และสล็อต PCI |
สล็อต AGP และสล๊อต PCI
โดยส่วนมากแล้วการ์ดแสดงผลจะเป็นในแบบออนบอร์ด โดยจะใช้ซิป อย่างเช่น NVIDIA ATI SiS และ Intel เป็นตัวประมวลผลการทำงานใน ด้านภาพ แต่ก็จะมีบางค่าย เหมือนกัน ที่ได้ติดตั้งสล็อต AGP 4x และ 8x มาให้ด้วย เผื่อผู้ใช้ยังไม่พอในการ์ดแสดงผลในแบบ ออนบอร์ดที่ให้มา ก็สามารถซื้อ หาการ์ดแสดงผลที่ต้องการมาเพิ่มเติมได้ที่สล็อตนี้ และในส่วนสล็อต PCI ที่ใช้กับพวกการ์ดต่างๆ นั้นก็มักจะ ติดตั้งมาให้ไม่ มากมายเหมือนบนเมนบอร์ดทั่วๆ ไป ฉะนั้นท่านใดที่คิดว่าจะใส่การ์ด PCI อะไรต่อมิอะไรมากมายลงใน barebone เพื่อให้ใช้งานได้หลายๆอย่าง ก็คงจะต้อง ผิดหวังกันซะหน่อย เพราะจาก พื้นที่บนเมนบอร์ดที่จำกัด จึงสามารถติดตั้งการ์ดในแบบ PCI มาให้ได้ไม่เกิน 2 สล็อตเท่านั้น
Barebone ที่น่าสนใจ
สำหรับ barebone ที่นำมาขายในบ้านเรานั้นก็จะมีอยู่หลายรุ่นหลายยี่ห้อ บางยี่ห้อเราก็จะคุ้นหน้าคุ้นตากันดีเพราะเป็นผู้ ผลิตเดียวกับผู้ผลิต เมนบอร์ด เช่น ECS, GIGABYTE, Shuttle, Iwill, MSI และอื่นๆ ทั้งนี้ผมก็ได้ยกตัวอย่าง barebone พร้อมสเป็คเครื่องที่น่าสนใจมา ให้ท่านผู้อ่าน ได้ลองตัดสินใจ
MSI MEGA
จะมีอยู่ 2 รุ่นด้วยกันคือ MEGA 180 และMEGA 651ข้อดีของ 2 รุ่นนี้ก็คือ ความสามารถในการรวมการทำงานในด้านความ บันเทิงได้อย่าง ครบถ้วน เช่น ระบบ HI-FI Stereo ที่แยกการทำงาน ได้อย่างเป็นอิสระ โดยที่ท่านไม่ต้องBoot หรือเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ท่านก็สามารถเปิด ฟังเพลง ฟังวิทยุได้ หรือแม้จะเล่นอินเทอร์เน็ตท่านก็ไม่ต้องไปติดตั้งโมเด็มเพิ่มเติม เพราะทาง MSI ได้ใส่โมเด็มในแบบออนบอร์ดไว้ ให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
Shuttle
เป็นอีกหนึ่งผู้ผลิตที่ได้นำ barebone ออกมาให้ผู้ใช้ได้เลือกซื้อกันมากมายหลายรุ่น ส่วนรุ่นที่อยากจะแนะนำนั้นก็จะมี 2 รุ่น อีกเช่นกัน นั้นก็คือ Shuttle SB75G2 กับ Shuttle SN85G4 อย่างที่บอก ในตอนต้นแล้วว่าจุดเด่นของเครื่องจากค่ายนี้ก็คือเทคโนโลยี ICE ฮีทซิงค์อัจฉริยะ ที่สามารถ ระบายความร้อนที่เกิดจากการทำงานของซีพียูได้อย่างรวดเร็วกว่าฮีทซิงค์ในแบบปกติ ซึ่งเทคโนโลยี ICE นี้ก็จะถูกติดตั้งให้กับ barebone ทุกตัว ของค่ายนี้ และการที่ Shuttle ออกแบบเคสมาให้มีลักษณะที่เหมือน หรือคล้ายกันนั้น ก็เพื่อให้ผู้ใช้สามารถที่เปลี่ยน Accessories ต่างๆ ที่ทาง Shuttle ได้ผลิตออก มาควบคู่กัน อย่างเช่น ฝาครอบเคสหลากสี แผ่นกรอบหน้าเครื่องที่เป็นอะคิลิกหลากสี ที่สามารถให้ท่านซื้อหามาเปลี่ยนสีได้ตามความชอบ
สรุปการเลือกซื้อ
แนวทางการเลือกซื้อก็จะมีอยู่ 2 อย่างแนวทางใหญ่ๆ นั้นก็คือ หนึ่งซื้อ barebone แท้ๆ แล้วนำมาติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เอง กับแนวทางที่สองคือซื้อ barebone ที่ทางผู้ขายเขาได้ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆมาให้ครบแล้ว ซึ่งผู้ซื้อสามารถใช้งานได้ทันที อย่างแรกนี้น่าจะเหมาะกับผู้ที่พอจะมีความรู้ในด้านอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์สามารถถอดประกอบติดตั้งอุปกรณ์เป็น แต่ผู้ที่ติดตั้งเป็นแล้วจะไปซื้อ barebone ในแบบที่ทางร้านเขาติดตั้งสำเร็จรูป มาแล้วก็ไม่ผิด แต่ก็ควรจะ เปรียบเทียบราคาของทั้งสองแบบดูว่าใกล้เคียง หรือแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหนด้วย รูปลักษณ์และสีสันที่สะดุดตา อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ดึงดูดผู้ใช้ แต่ท่านก็ไม่ ควรมองแค่รูปลักษณ์ภายนอก แต่เพียง อย่างเดียว ควรจะมองถึงประสิทธิภาพในการรองรับกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ภายในเครื่องด้วย ว่าตรงกับงานที่จะต้องนำไป ใช้หรือไม่ อย่างเช่น ถ้าท่านต้องการนำไปใช้ในบ้านที่ต้องการเน้นความบันเทิงเป็น ก็ต้องมองเครื่องที่ม ีฟังก์ชั่นที่เน้นในด้านมัลติมีเดียอย่างพวก MP3, Audio CD หรือ AM/FM Radio Tuner หรือจะนำไปใช้ในสำนักงาน barebone ก็มีเครื่องที่เน้นเพื่องานในสำนักงานโดยเฉพาะ เช่น การสนับสนุนแลน ในระดับ Gigabit Ethernet ที่รองรับระบบเครือข่ายด้วยความเร็วสูง ทั้งหมดที่ผมได้บอกมานั้นอาจจะตอบความต้องการของท่านได้ไม่ทั้งหมด แต่ทั้งนี้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับตัวท่านเองแล้วว่าจ้าว barebone นวัตกรรมเครื่อง PC ขนาดเล็กตัวนี้ จะสามารถตอบความต้องการของท่านได้มากน้อยเพียงใด สวัสดีครับ....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น