วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Printer การเลือกซื้อเครื่อง พริ้นเตอร์ อย่างไรให้โดนใจคุณ

Printer การเลือกซื้อเครื่อง พริ้นเตอร์ อย่างไรให้โดนใจคุณ

การเลือกซื้อเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ไว้ ใช้งานสักเครื่องหนึ่ง ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกับการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ เลย เพียงแต่ผู้ซื้อควรจะมีความรู้เกี่ยวกับตัวสินค้าสักหน่อยเท่านั้น ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในที่นี้อย่างเช่น การอ่านสเปกอย่างคร่าวๆ ของเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ได้ สามารถอ่านแล้วทำความเข้าใจได้ว่า ความสามารถของสินค้าชนิดนั้นๆ สามารถทำอะไรด้มั่ง มีความละเอียดในการพิมพ์เท่าไร่? สามารถหยดน้ำหมึกได้เล็กที่สุดกี่พิโคลิตร? แต่ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น การเลือกซื้อเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ยังต้องคำนึงถึงในเรื่องของประสิทธิภาพในการทำงาน ราคาของเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ งบประมาณที่จะซื้อ รวมไปจนถึงประสิทธิภาพของเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ที่ซื้อมาใช้งานแล้ว คุ้มค่ากับเงินทองที่เสียไปหรือไม่ ถ้าทำอย่างนี้การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือการเลือกซื้อเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ สำหรับผู้ใช้หลายๆ ท่านก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากแล้วครับ
มาทำความรู้จักกันก่อนดีกว่าครับว่า เครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ที่มีขาย หรือใช้งานกันในปัจจุบันนี้มีเครื่องพรินเอร์แบบใดกันบ้าง เราสามารถแบ่งเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ได้เป็น
1) เครื่องดอตเมตริกซ์พริ้นเตอร์ (Dotmatirx Printer)
2) เครื่องฟิล์มพริ้นเตอร์ (Film Printer)
3) เครื่องอิงค์เจ็ตพริ้นเตอร์ (Inkjet Printer)
4) เครื่องมินิพริ้นเตอร์ (Mini Printer)
5) เครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์ (Laser Printer)
6) เครื่องไลน์พริเตอร์ (Line Printer)
7) เครื่องมัลตฟังก์ชัน (Multifunction Printer) หรือ All-In-One (AIO)
8) เครื่องพล็อตเตอร์ (Plotter)
ในการเลือกซื้อ Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายๆอย่างประกอบกัน ซึ่งในแต่ละองค์ประกอบนั้นมีความสำคัญไม่แพ้กัน ในการเลือกซื้อ ตรงนี้จะทำให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์สูงสุด คือเกิดความคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปแต่ที่แน่ ๆ สิ่งแรกควรพิจารณาจากการใช้งานเป็นหลักว่า ผู้ใช้ต้องการPrinter พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ไปใช้งานประเภทใดเป็นส่วนใหญ่ เพราะพริ้นเตอร์แต่ละรุ่นเน้นการทำงานที่ต่างกันในตลาดเมืองไทยของเรามี พริ้นเตอร์ให้เลือกซื้ออยู่มากมายหลายรุ่น หลาก หลายประเภทโดยแต่ละรุ่นก็มีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของราคา การใช้งาน ส่วนในประเภทของ Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ นั้นที่เห็นอย่างชัดเจนในปัจจุบัน มีอยู่ ด้วยกันถึง 4 ประเภท เนื่องจาก Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ มีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ มีการเพิ่มเติมเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น การใช้งานมีความ หลากหลายมากขึ้นจนตอนนี้เครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องพิมพ์ธรรมดาไปเสียแล้ว เช่น ในบ้างรุ่นสามารถพิมพ์งานด้านกราฟิกที่มีความละเอียดสูงๆ พิมพ์ภาพถ่ายได้แล้ว จากประเภทของพริ้นเตอร์ที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วนั้นแบ่งได้ดังนี้ครับ
เครื่องดอตเมตริกซ์พริ้นเตอร์ (Dotmatix Printer) เหมาะสมสำหรับห้างร้าน ผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางหรือผู้ใช้ที่ต้องการเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ที่สามารถ ทำสำเนาได้
เครื่องดอตเมตริกซ์พริ้นเตอร์ (Dotmatix Printer) นี้การพิมพ์โดยใช้หัวเข็มครับ ไม่ได้ใช้เป็นหัวพ่นจึงไม่จำเป็นจะต้องซื้อน้ำหมึกแต่ต้องซื้อผ้าหมึกแทน คล้ายๆ กับ เครื่องพิมพ์ดีดแบบปกติทั่วไป ทำให้ผู้ใช้ประหยัดเงินค่าซื้อน้ำหมึกไปได้มาก เนื่องจากผ้าหมึกมีอายุการใช้งานสูงกว่าใช้น้ำหมึกมากหลายเท่า เหมาะกับการใช้ งานในสำนักงานที่ต้องการใช้พิมพ์เพียงเอกสารแบบปกติ อย่างพวกใบเสร็จต่างๆ และงานพิมพ์ทั่วไป ในด้านการใช้งานตัวเครื่องมีความยืดหยุ่นสูง สามารถใช้ ได้กับกระดาษหลายประเภท ในการเลือกซื้อพริ้นเตอร์ประเภทนี้เรื่องความละเอียดในการพิมพ์เรามองข้ามไป ได้เลยครับเพราะปกติของ Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ Dotmatix ค่าความละเอียดสูงสุดแล้วอยู่ที่ 360x360 จุดต่อตารางนิ้วทั้งหมด (ที่มีจำหน่ายอยู่ในตลาดบ้านเราครับ) จำนวนหัวเข็มของเครื่องพิมพ์จะมีตั้งแต่ 24 หัวเข็ม 32 หัวเข็ม ยิ่งจำนวนหัวเข็มมากก็จะทำให้งานที่พิมพ์ออกมามีความละเอียดขึ้น ความเร็วในการพิมพ์ตัวอักษรมีตั้งแต่ 192 ต่อCPS, 240, 264, 300, 360, 375, 390, 400, 432, 450 จนถึง 504 ต่อCPS (CPS คือ ความเร็วในการพิมพ์ตัวอักษรต่อนิ้ว) เห็นได้ว่าเพียงความเร็วในการพิมพ์ตัวอักษรก็มีให้เลือก มากแล้ว ส่วนนี้คงอยู่ที่ความพอใจของผู้ซื้อเองว่าจะเลือกความเร็วที่เท่าไรค่าความ ต่างในการพิมพ์ไม่ได้ต่างกันมากเพียงไม่กี่วินาทีต่อแผ่น
Epson LQ-300+
Fujisu DL3800Pro
Nec P2000
Oki
Microline 390 Turbo
Panasonic KX-P1131
ต่อมาเป็นจำนวนที่สำเนาที่เครื่องสามารถทำได้ เช่น 1 ต้นฉบับ 3 สำเนา, 1 ต้นฉบับ 4 สำเนา ไปจนถึง 1 ต้นฉบับ 7 สำเนา ส่วนนี้แล้วแต่ความ ต้องการของผู้ใช้ครับ กระดาษก็เป็นเรื่องสำคัญครับแต่ในพริ้นเตอร์ Dotmatrix แล้วจะใช้กระดาษต่อเนื่องที่เป็นทำเป็นสำเนา ความกว้างของกระดาษ ก็เป็น ส่วนหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงครับ ถ้าเครื่องพิมพ์มีความกว้างของกระดาษไม่พอ ก็ทำให้ไม่สามารถพิมพ์งานได้ครับ ในส่วนอื่นๆ ก็เหมือนๆกันไม่ได้แตกต่างกันมาก ช่องต่อพอร์ต เป็น Parallel โดยส่วนใหญ่ มีไม่กี่รุ่นที่ต่อพอร์ต USB ได้ด้วย ที่น่าพิจารณาก็อยู่ตรงที่หน่วยความจำบัฟเฟอร์ยิ่งมาก ยิ่งดีครับเพราะเครื่องจะ มีความยืดหยุ่นในการทำงานสูงขึ้น และเรื่องของราคาเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ประเภทนี้มีราคาค่อนข้างสูงอยู่พอสมควร แต่ถ้าคิดถึงโดยรวมแล้วคุ้มครับเนื่องจากผู้ใช้ ไม่ต้องเสียเวลา ซื้อน้ำหมึกมาเติมอยู่บ่อยๆเหมือนเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ประเภทอื่นส่วนราคาผ้าหมึกเวลาซื้อเปลื่ยนก็ไม่แพงมาก ถ้าหากกำลังมองหาพริ้นเตอร์ประเภท นี้อยู่ก็คงต้องพิจารณาให้ดีนิดนึงนะครับ
เครื่องอิงค์เจ็ตพริ้นเตอร์ (Inkjet Printer) เหมาะสมสำหรับการใช้งานโดยรวม สามารถพิมพ์เอกสาร รูปภาพที่เป็นขาว-ดำ และสีได้
เครื่องอิงค์เจ็ตพริ้นเตอร์ (nkjet Printer) เป็นประเภทที่เหมาะสมกับผู้ใช้ทั่วไปทุกระดับตั้งแต่นักเรียน นักศึกษา ไปจนถึงสำนักงานใหญ่ ๆ และกำลังได้รับความ นิยมมากที่สุดในตลาดบ้านเราขณะนี้ เนื่องจากมีราคาตั้งแต่ไม่กี่พันบาท ไปจนถึงหลักหมื่นเลยที่เดียวสำหรับการเลือกซื้อเครื่องประเภทนี้จำเป็นต้อง ดูอะไร หลายๆอย่างประกอบกัน เหมือนเดิมครับว่าต้องดูการใช้งานของผู้ใช้เป็นหลักว่าต้องการใช้เครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ประเภทนี้เน้นในด้านใดเป็นหลัก อันนี้ก็สืบเนื่องมา จากว่าเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ประเภทนี้มีขายในตลาดบ้านเรามากมายหลายรุ่นจริงๆ ในแต่ละรุ่นมีการทำงานที่แตกต่างกันหลายอย่างเลยทีเดียว คือมีจุดเด่นที่แตกต่าง กันนั้นเอง พริ้นเตอร์ประเภทInkjet พิมพ์งานโดยใช้ตลับน้ำหมึก เวลาเลือกซื้อต้องดูด้วยว่ารุ่นนี้ใช้ตลับน้ำหมึกแบบไหนรุ่นอะไร ตลับสีและดำ ราคาเท่าไรแต่ ละแบรนด์ราคาตลับหมึกถูกบ้างแพงบ้างต่างกันไป อย่างบางรุ่นราคาพริ้นเตอร์ไม่แพงมากแต่ราคาตลับเป็นพันบาทก็มี ตรงส่วนนี้ต้องดูให้ละเอียดครับ
เรื่องของคุณภาพของน้ำหมึกมีขอแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยบ้างรุ่นตลับสี แบบรวมไม่ได้แยกเป็นสี ตรงจุดนี้แบบรวมจะมีข้อเสียเล็กน้อยที่ถ้าตลับสีแบบ รวมสีหนึ่งสีใดหมดต้องเปลี่ยนทั้งตลับเลย ไม่เหมือนกับแบบแยกสีที่ถ้าสีใดหมดก็เปลื่ยนเพียงสีนั้นสีเดียวได้แต่ ปัจจุบัน รุ่นใหม่ๆที่ใช้ตลับหมึกสีแบบรวมมี เทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้น้ำหมึกสีหมดแบบพอๆกัน เพื่อนำมาแก้ปัญหาตรงจุดนี้ หากผู้ใช้เน้นทำงานกราฟิกเป็นส่วนใหญ่ขอแนะนำให้ใช้พริ้นเตอร์ที่มีตลับหมึก สี แยกจะดีกว่าเพราะจะประหยัดกว่ามากครับ ส่วนผู้ใช้ที่เน้นการทำงานปกติ มีพิมพ์ภาพบ้างใช้แบบตลับหมึกสีรวมก็พอแล้วครับ
Canon PIXMA iP90
Epson Stylus Photo R800
HP Photosmart 8150
Lexmark P915
ต่อไปก็เป็นค่าความละเอียดของตัวเครื่องให้เลือกที่ความเหมาะสมดูไป แล้ว เมื่อเทียบกับในปัจจุบันคงต้องเลือกค่าความละเอียดไม่ต่ำกว่า 1200x1200 จุดต่อตารางนิ้ว สำหรับผู้ที่ใช้งานปกติ ตรงนี้ไม่ใช่ว่าความละเอียดต่ำกว่านี้จะไม่ดีนะครับ แต่เพื่อการทำงานในอนาคตและราคาก็แตกต่างกัน เล็กน้อย สำหรับผู้ที่ทำงานกราฟิก ออกแบบน่าจะเลือกความละเอียดประมาณ 4,800 x 1,200 จุดต่อตารางนิ้ว ขนาดช่องใส่กระดาษก็ปกติ A4 หากมีทุนหน่อยก็ เลือกเครื่องที่ใส่กระดาษขนาด A3 ได้ไปเลย ส่วนช่องพอร์ตจะมีตั้งแต่ Parallel, USB 1.1/2.0 ให้เลือกที่เป็น USB ครับเพราะการรับส่งข้อมูลจะเร็วกว่า แบบParallel เรื่องราคาอยู่ที่ความพอใจเลยครับ ราคาถูกประสิทธิภาพการทำงานต่างก็ลดลงเช่นกัน ถ้าต้องการเครื่องที่มีประสิทธิภาพ ในการทำงานสูงก็ลง ทุนหน่อยนะครับ สำปัจจุบันนี้เครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ แบบ Inkjet สามารถจะพิมพ์รูปภาพจากกล้องดิจิตอลโดยตรงได้โดยที่ไม่ต้องเชื่อมต่อกับ เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ สามารถอ่านสื่อบันทึกข้อมูลแบบ Memory Stick, MulitMedia Card(MMC), Secure Disk(SD), CompactFlash (CF) และ XD เหมาะสำหรับ หรับผู้ใช้ที่มีกล้องดิจิตอลอยู่แล้วต้องการเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ที่สามารถพิมพ์ภาพได้ บางรุ่นก็มีหน้าจอบนตัวเครื่องทำให้สามารถเลือกดูภาพจากตัวเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ได้ก่อนที่จะพิมพ์ บางรุ่นก็ไม่มีแต่ก็สามารถดูภาพที่ตัวกล้องแทนได้ ในส่วนกระดาษที่ใช้ถ้าเป็นการพิมพ์เอกสารธรรมดาประเภท Word, Excel ควรจะใช้ กระดาษที่ใช้ควรจะเป็นกระดาษที่มีความหนา 80 แกรมขึ้นไปครับ เพราะความหนาของกระดาษจะช่วยให้ตัวอักษรที่พิมพ์ออกมาอีกความคมชัดด้วย ถ้าเป็นการ พิมพ์รูปภาพ ควรจะใช้กระดาษโฟโต้เหมาะที่สุดครับ คุณภาพในด้านสีและความละเอียดที่ออกมาจะทำให้สามารถแสดงสีได้ไม่ผิดเพี้ยน มากเกินไป
พอร์ตการเชื่อมแบบ PicBridge สำหรับเชื่อมต่อโดยตรงกับกล้องดิจิตอล และสั่งพิมพ์รูปภาพได้ทันที
Card Reader ที่ติดตั้งมาบนตัวเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ทำให้เพิ่มความสะดวกในการทำงานยิ่งขึ้น
เครื่องอิงค์เจ็ตพริ้นเตอร์บางรุ่นยังสามารถพิมพ์รูปภาพลงบนแผ่น CD หรือ DVD ได้อีกด้วย
เครื่องอิงค์เจ็ตพริ้นเตอร์ในปัจจุบันมีความสามารถที่แตกกต่างกันมาก มาย ทางด้านผู้ผลิตที่คิดค้น และค้นคว้าจุดเด่น หรือข้อดีของแต่ละผลิตภัณฑ์ขึ้นมาแข่งขันกัน ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการอ่านสื่อบันทึกข้อมุลต่างๆ ได้ เช่น Compact Flash, MultiMedia Card, Secure Disk, XD Card, Memory Stick ในแบบต่างๆ และการติดตั้งพอร์ตเชื่อมต่อแบบ PicBridge หรือบางผู้ผลิตเรียกว่า Print Direct ก็ยังสามารถช่วยให้การใช้งานนั้นง่ายยิ่งขึ้น เพียงแต่ผู้ใช้มีกล้องดิจิตอลที่รองรับเทคโนโลยี PicBridge และเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ที่รองรับเทคโนโลยีนี้เหมือนกัน เท่านี้ก็สามารถใช้งานสั่งพิมพ์รูปภาพผ่านทางกล้องดิจิตอลได้แล้วครับ ในส่วนความสามารถในการพิมพ์รูปภาพหรือข้อความลงบนแผ่น CD หรือ DVD นั้นกำลังเริ่มนิยมขึ้นเรื่อยๆ ครับ หลายๆ ผู้ผลิตก็ทยอยออกสินค้ารุ่นใหม่ๆ ของตนที่มีความสามารถในการพิมพ์รูปภาพ หรือข้อความลงบนแผ่น CD หรือ DVD ได้ออกมา สำหรับโปรแกรมที่ใช้งานกับเครื่องอิงค์เจ็ตพริ้นเตอร์นั้น แต่ละผู้ผลิตก็ได้พัฒนา Software ของตนขึ้นมาเพื่อรองรับการทำงาน และประสานการทำงานระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้ และเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ให้สามรถใช้งานได้อย่างง่ายดาย
เครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์ (Laser Printer) เหมาะสมกับการใช้งานร่วมกันในผู้ใช้ทั่วไปที่ต้องการความละเอียด สำนักงานขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่มี งานเอกสารปริมาณที่มาก
เครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์ (Laser Printer) นับว่ามีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อยเลยในตลาดบ้านเราเมื่อเทียบกับการทำงานทั่ว ไปของพริ้นเตอร์ประเภทนี้กับ เครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ประเภท Inkjet จุดแตกต่างที่เห็นกันอย่างชัดเจนคงต้องเป็นในเรื่องของปริมาณการพิมพ์ที่ พริ้นเตอร์ประเภทเลเซอร์ สามารถพิมพ์ได้จำนวน มากกว่า ใส่กระดาษได้มาก รวดเร็วกว่าในการพิมพ์ในจำนวนมากๆ มีความคมชัดสูงทั้งพิมพ์สี ขาวดำและยังสามารถแชร์การทำงานกับผู้ใช้หลายคนได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากกว่าประเภทอื่น ในปัจจุบันนี้เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์พริ้นเตอร์ได้มีการนำออกมาวางจำหน่าย กันมากมายหลายรุ่น โดยในแต่ละรุ่นก็จะมี ประสิทธิภาพและฟังก์ชันในการทำงานที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อเลเซอร์พริ้นเตอร์ที่เหมาะสมกับ ลักษณะงานและปริมาณงานในองค์กร ของตนให้มากที่สุด ส่วนในเรื่องของราคานั้นอาจจะมีราคาสูงนิดหน่อย แต่ก็คุ้มค่าครับ กับประสิทธิภาพที่ดีกว่ามีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง ส่วนในการเลือก ซื้อควรดูที่ฟังก์ชันการทำงานเป็นหลักว่าเหมาะสมกับงานของเราหรือเปล่า ถ้ามีฟังก์ชันมากก็จะทำให้ผู้ใช้สะดวกมากขึ้น สำหรับในการทำงานร่วมกันหลายคน
เครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ เครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์ขาว-ดำ (Monochome Laser Printer) และเครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์สี (Color Laser Printer)
Brother HL-5150D
Epson AcuLaser C3000N
HP Color LaserJet 2550L
Fuji Xerox DocuPrint C525A
Konica Minolta PagePro 1300W
ในด้านความละเอียดของตัวเครื่องก็ดูที่ความเหมาะสมกับงาน แนะนำว่าพริ้นเตอร์เลเซอร์เหมาะมากครับสำหรับการใช้งานในสำนักงาน ดูจะไม่ เหมาะเท่าไรนักถ้าจะซื้อมาใช้งานส่วนตัวเพราะโดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องประเภท นี้เน้นสนับสนุนระบบเน็ทเวิร์กเป็นหลักครับ Laser พริ้นเตอร์ก็ยังไม่ทั้งขาว-ดำ และสี ในด้านความละเอียดของเครื่อง Laser มีความละเอียดทั้งแต่ 600 x 600 จุดต่อตารางนิ้ว ไปจนถึง 1,200 x 1,200 จุดต่อตารางนิ้ว ความเร็วในการ พิมพ์ก็มีส่วนสำคัญครับ ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่อง Laser ก็สามารถพิมพ์ในโหมดขาว - ดำได้ตั้งแต่ 10 แผ่นต่อนาทีขึ้นไป ส่วนโหมดสีตั้งแต่ 6 แผ่นต่อ นาทีขึ้นไป ต่อมาก็มาดูที่หน่วยความจำของเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ส่วนใหญ่ใน Laser พริ้นเตอร์จะติดตั้งหน่วยความจำตั้งแต่ 8 MB, 16 MB, 32 MB ไปจนถึง 96 MB แต่ก็สามารถเพิ่มเติมได้อีก ยิ่งมีหน่วยความจำมากเท่าไหร่ก็จะทำให้เครื่องพิมพ์สามารถประมวลผล และรับงานในปริมาณที่มาก ล้วพิมพ์งานออกมาได้ รวดเร็วขึ้น ลำดับต่อมาเป็นการเชื่อมต่อมีตั้งแต่ Parallel, USB 1.1/2.0, Ethernet ในส่วนนี้แล้วแต่ผู้ใช้ครับ แต่ขอแนะนำให้เลือกใช้ที่เป็นการเชื่อมต่อแบบ USB 1.1/2.0 ดีกว่าครับ เพราะจะทำให้การส่งข้อมูลมีความรวดเร็วกว่าแบบอื่น และถ้าต้องการใช้งานในระบบเครือข่าย (LAN) ขั้นก็ควรจะมีพอร์ตเชื่อมต่อแบบ Ethernet 10/100 Base-T/TX ด้วยครับ แต่เราจะใช้การเชื่อมต่อแบบ USB 1.1/2.0 เพื่อให้เครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์ของเราเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องหึง แล้วทำงานแชร์ทรัพยากรเครื่อง ให้เครื่องลูกข่าย (Client) ให้สามารถใช้งานเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ตัวนั้นก็ได้ครับ ซึ่งมีข้อเสียคือในการทำงานจำเป็นทีจะต้องเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ไว้ตลอดเวลา จึงจะสามารถสั่งพิมพ์งานได้ แต่ถ้าเป็นการเชื่อมต่อแบบEthernet ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องนำเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ มาเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่สามารถนำเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ เครื่องที่มีมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบ Ethernet นั้นไปเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายด้วยสาย LAN ได้ทันที เสมือนการทำงานว่าเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ เครื่องนั้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งนั่นเองครับ ในการทำงานก็สามารถสั่งพิมพ์งานได้ทันที สะดวกและรวดเร็วประหยัดพลังงานมากกว่าแบบแรกครับ
โทนเนอร์ก็มีส่วนสำคัญครับ ถ้าราคาโทนเนอร์แพงก็ไม่คุ้มค่าที่จะใช้งานต้องระมัดระวังในส่วนนี้ด้วย กระดาษที่ใช้กับเครื่อง Laser สามารถใช้ กระดาษขนาด A4 บางรุ่นก็สามารถพิมพ์กระดาษขนาด A3 ได้ ส่วนถาดใส่กระดาษใน Laser บางรุ่นสามารถเพิ่มถาดกระดาษได้ เหมาะสำหรับงานที่มี ปริมาณเอกสารมาก ไม่ต้องกังวลว่าปริมาณกระดาษจะพอไหม ในส่วนการใช้งาน Laser พริ้นเตอร์แบบขาว- ดำเหมาะสำหรับผู้ใช้ที่เน้นงานเอกสารเป็นหลัก ไม่ต้องการพิมพ์รูปภาพ หรือข้อความที่เป็นสี ทำให้ได้ตัวอักษรที่คมชัดกว่าเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ Inkjet หลายเท่า ส่วน Laser พริ้นเตอร์แบบสีเหมาะสำหรับผู้ใช้ ที่เน้นงานด้านรูปภาพ แต่ก็มีงานด้านเอกสารด้วย
เครื่องมัลติฟังก์ชัน (Multifunction) หรือ All-In-One (AIO) น้องใหม่ที่ออกมาพร้อมอุปกรณ์ทำงานที่ครบเครื่องทั้ง พิมพ์ สแกน ก๊อปปี้ และส่งแฟกซ์ คุ้มค่ากับราคาที่น่าลอง
ก่อนอื่นเรามาเริ่มทำความรู้จักกับอุปกรณ์นี้กันก่อน สำหรับเครื่องมัลติฟังก์ชันหรือออลอินวันจะเป็นการนำเอาความสามารถและ ฟังก์ชันการทำงานของ อุปกรณ์ต่อพ่วงหลัก ๆ มารวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างครบชุด ซึ่งประกอบไปด้วย เครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ เครื่องสแกนเนอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องแฟกซ์ แต่สำหรับ เครื่องมัลติฟังก์ชั่นในบางรุ่นอาจจะไม่ได้รวมเอาเครื่องแฟกซ์มาด้วยก็ได้ แต่หลัก ๆ อย่างไรก็สามารถพิมพ์งาน สแกน และถ่ายเอกสารได้ครับ
ส่วนการทำงานของเครื่องมัลติฟังก์ชันมีการพัฒนาในเรื่องของการทำงาน ให้มีการทำงานร่วมกันได้อย่างเต็มที่มากขึ้น อย่างที่เราจะเห็นได้จาก ฟังก์ชันในการถ่ายเอกสารนั่นเองซึ่งจะเป็นการประสานงานในการทำงานร่วมกัน ระหว่างเครื่องสแกนเนอร์กับพริ้นเตอร์ นอกจากนี้ยังได้มีการเพิ่มฟังก์ชัน ในการสั่งงานบางอย่างที่จะช่วยให้การถ่ายเอกสารทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบมาก ขึ้นด้วย อย่างเช่น การย่อหรือขยายเอกสาร การทำสำเนา หรือจะเป็นการปรับ เลือกโหมดการถ่ายเอกสารสีหรือการถ่ายเอกสารขาว-ดำได้ เป็นต้น
ส่วนเครื่องมัลติฟังก์ชันที่มีแฟกซ์ในตัวเราจะสังเกตได้จากแผงควบคุม ที่จะมีปุ่มสำหรับกดเลขหมายโทรศัพท์ได้ครับ สำหรับกลุ่มผู้ใช้ที่เหมาะสำหรับ เครื่องมัลติฟังก์ชันนี้จะมีทั้ง กลุ่มธุรกิจองค์กรทั้งขนาดเล็กและขนาดกลาง โฮมออฟฟิศ และกลุ่มผู้ใช้งานตามบ้าน ซึ่งสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานตามบ้านนั้นในตอนนี้ กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะทางผู้ผลิตทั้งหลายต่างก็ได้ส่งเครื่องมัลติฟังก์ชันราคาประหยัดลงมาทำ ตลาดกัน ซึ่งจะมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ สี่พันกว่าบาทเท่านั้น และเมื่อลองเทียบกันกับการซื้อพริ้นเตอร์และสแกนเนอร์แบบแยกชิ้นแล้ว จะเห็นได้ว่ามีราคาต่างกันไม่มาก แต่เมื่อดูถึงจุดเด่นของ มัลติ ฟังก์ชันที่ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งกว่า และสามารถถ่ายเอกสารทั้งสีทั้งขาว-ดำได้แล้วถือว่าเป็นตัวเลือกใหม่ที่น่า สนใจทีเดียว
Brother MFC-620CN
Canon PIXMA IP780
Epson Stylus CX6500
HP Officejet 6210
Lexmark X7170
ในการเลือกซื้อเครื่องมัลติฟังก์ชันเราจะอาศัยหลักการเลือกซื้อแบบ แยกชิ้นอาจจะไม่ได้ เพราะในการเลือกซื้อแบบแยกชิ้น อย่างการซื้อพริ้นเตอร์สัก เครื่องเราอาจจะพิจารณาจากความละเอียดในการพิมพ์เป็นอันดับต้น ๆ ก็ได้ แต่สำหรับการซื้อมัลติฟังก์ชันนั้นต่างกันเนื่องจากมัลติฟังก์ชันเป็น อุปกรณ์แบบ รวมชิ้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราคาดหวังว่าในการพิมพ ์ต้องมีความละเอียดเท่านี้ สแกนเนอร์ต้องสแกนงานได้ที่ความละเอียดเท่านี้นั้นเป็นเรื่องที่กำหนดได้ยาก ถ้าให้ดีเราควรเลือกซื้อตามความต้องการและความเหมาะสมในการใช้งานเป็นหลักดี กว่า
อย่างเช่นถ้าที่ออฟฟิศของคุณมีเครื่องแฟกซ์อยู่แล้วก็ควรเลือกซื้อ เครื่องมัลติฟังก์ชันแบบที่ไม่มีแฟกซ์ในตัวมาใช้ ซึ่งราคาส่วนต่างระหว่างรุ่นที่มี แฟกซ์กับไม่มีแฟกซ์จะต่างกันค่อนข้างมากอยู่ ส่วนในเรื่องของความละเอียดในการพิมพ์และการสแกนงานนั้น ในการเลือกซื้อให้ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานด้วย อย่างถ้ามีความจำเป็นต้องมีการใช้งานเกี่ยวกับด้านกราฟิกบ้าง เครื่องมัลติฟังก์ชันที่มีความละเอียดสูง ๆ ก็จะเหมาะสมกับงานแบบนี้มากกว่า หรือถ้าหากมีการใช้ งานการพิมพ์หรือการสแกนที่ต้องการความละเอียดสูงจริง ๆ หรือมีการใช้งานเป็นประจำ อันนี้ควรจะเลือกซื้อแบบแยกชิ้นไปเลยดีกว่า เพราะในการใช้งานแบบ เฉพาะเจาะจงนั้นอุปกรณ์แบบแยกชิ้นย่อมทำงานได้ดีกว่าเสมอ เราต้องอย่าลืมว่า เครื่องมัลติฟังก์ชันนั้นถูกออกแบบมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก และเพื่อเพิ่ม ความคล่องตัวในการทำงานให้มากขึ้นครับ แต่ถ้าจะเลือกซื้อมัลติฟังก์ชันความละเอียดมีตั้งแต่ 600 x 600 จุดต่อตารางนิ้ว, 1200 x 1200 ตารางนิ้ว ความ สามารถในการพิมพ์ขาว-ดำ 12 แผ่นต่อนาทีขึ้นไป พิมพ์สี 10 แผ่นต่อนาทีขึ้นไป ส่วนความละเอียดในการสแกนตั้งแต่ 600 x 1200 จุดต่อตารางนิ้ว ยิ่งมากยิ่ง สแกนได้ความละเอียดสูงครับ จำนวนบิตสีก็สำคัญส่วนใหญจะประมาณ 48 บิตสี บางรุ่นยังสามารถสแกนแล้วย่อ – ขยายได้ตั้งแต่ 25% - 400% ในส่วนนี้ เป็นส่วนเพิ่มเติมครับ หน่วยความจำในเครื่องมัลติฟังก์ชันก็สำคัญควรจะมีประมาณ 16 MB ขึ้นไปครับ จะได้ช่วยประมวลผลในการพิมพ์ได้เร็วขึ้น การเชื่อม ต่อสามารถเลือกได้ว่าต้องการแบบใด Parallel, USB 1.1/2.0, FireWire และ Ethernet ขอแนะนำให้ใช้ USB 1.1/2.0 เพราะราคาไม่สูงมากนัก แต่ถ้า ต้องการความเร็วในส่งข้อมูลที่สูงขึ้นแนะนำ FireWire ครับ ฟังก์ชันในการใช้งานในตอนนี้มัลติฟังก์ชันมีสามารถในการพิมพ์ภาพจากกล้อง ดิจิตอล หรือสื่อ บันทึกข้อมูล Memory Stick, MutiMedia Card(MMC), Secure Disk(SD), CompactFlash(CF) และ XD-Cart
สำหรับเครื่องมัลติฟังก์ชันในปัจจุบันนั้นมีการพัฒนาขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีในการพิมพ์ที่มีความละเอียดในการพิมพ์ที่สูงขึ้น สามารถพิมพ์รูปภาพได้สวยขึ้น ไม่แพ้เครื่องอิงค์เจ็ตพริ้นเตอร์, ในเรื่องของความสามารถในการพิมพ์ก็เช่นเดียวกันครับ เครื่องมัลติฟังก์ชันมีความเร็วในการพิมพ์ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถพิมพ์ได้ไวขึ้น, ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับเครื่องมัลติฟังก์ชันก็มีความง่ายต่อการใช้งานยิ่งขึ้น โดยจะมีโปรแกรมที่ช่วยเหลือในการพิมพ์ให้เป็นเรื่องง่ายขึ้ ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์งาน การสแกนรูปภาพ หรือการทำสำเนา และรวมทั้งการรับ-ส่งแฟกซ์ โดยที่การทำงานต่างๆ เหล่านี้สามารถควบคุมการทำงานได้ทั้งจากเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านทาง ซอฟต์แวร์ควบคุม หรือว่าจะเป็นการสั่งงานผ่านทางหน้าจอควบคุม และปุ่มควบคุมทางด้านบนของตัวเครื่อง, การทำงานของเครื่องมัลติฟังก์ชันก็มีมีความสามารถอื่นๆ เพิ่มเติมอีก ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์เอกสาร 2 หน้าอัตโนมัติโดยที่ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม เพราะได้ติดตั้งไว้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานกับตัวเครื่องแล้ว ซึ่งบางรุ่นก็ยังได้เพิ่มเติมความสามารถในการพิมพ์รูปภาพ หรือข้อความลงบนแผ่น CD หรือ DVD อีกด้วย
  ประเภทของเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ สำหรับงานแต่ละประเภท
  สำหรับงานพิมพ์เอกาสารธรรมดา ขาว-ดำที่ต้องการสำเนา
  เครื่องดอตเมตริกซ์พริ้นเตอร์( Dot Matrix Printer)
  สำหรับงานพิ์พ์เอกสารธรรมดาขาว-ดำ และสี รูปภาพ ภาพถ่าย
  เครื่องอิงค์เจ็ทพริ้นเตอร์ (InkJet Printer)
  สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการความรวดเร็ว คมชัด
  เครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์ขาว-ดำ (Mono Laser   Printer)  
  สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการความรวดเร็ว คมชัด และต้องการพิมพ์สี
  เครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์สี (Color Laser Printer)
  สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการพิมพ์เอกสารธรรมดาขาว-ดำ และสี   พร้อมด้วยการสแกน ทำสำเนา และส่งแฟกซ์
  เครื่องมัลติฟังก์ชัน (Multifunction Printer)

การเลือกซื้อจอภาพ จอคอมพิวเตอร์ แบบ CRT Monitor ซีอาร์ที มอนิเตอร์ และ LCD Monitor แอลซีดี มอนิเตอร์

การเลือกซื้อจอภาพ จอคอมพิวเตอร์ แบบ CRT Monitor ซีอาร์ที มอนิเตอร์ และ LCD Monitor แอลซีดี มอนิเตอร์


เมื่อกล่าวถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับผู้ที่มีความรู้ทางด้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ก็มักจะ นึกถึงสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น CPU, Mainboard, RAM, VGA และอุปกรณ์ภายในต่างๆ ซึ่งมองดูว่ามีความสำคัญและเป็นตัวบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของเครื่อง คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องได้ เป็นอย่างดี แต่ถ้าเราจะดูถึงสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ นั้นก็คือ "จอแสดงผล" ของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเอง เพราะตลอดการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ทุกๆ เครื่อง จำเป็นต้องจ้องมองที่หน้าจออยู่ตลอดเวลา
เนื่องจากว่าการทำงานส่วนใหญ่ของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนั้นจำเป็นต้อง อาศัยการแสดงผลในรูปแบบ ของกราฟิกอินเทอร์เฟส (Graphic Interface) ซึ่งเป็นรูปแบบการใช้งานที่ง่าย และสามารถที่จะทำการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer) กับผู้ใช้งาน (User) ได้โดยตรง ซึ่งการ แสดงผลแบบนี้นิยมใช้งานกันเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการทำงานกับระบบปฏิบัติ การต่างๆ (OS = Operating System) และโปรแกรมอื่นๆ อีกมากมายตาม ท้องตลาดทั่วไป ส่วนใหญ่จะใช้การแสดงผลแบบนี้ทั้งนั้น ซึ่งผู้ที่ต้องการที่จะใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นควร ที่จะคำนึงถึงความเหมาะสมกับการใช้งานจอ คอมพิวเตอร์ให้มากที่สุด เพราะที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่าจอนั้นเป็นสิ่งที่เราต้องติดต่อหรือใช้งานโดย ตรงจึงมีผล ทำให้มีผลกระทบกับร่างกายของผู้ใช้งานโดย ตรง ซึ่งผู้ที่จะเลือกซื้อก็ควรที่จะพิจารณาถึงข้อนี้มากๆ
ประเภทของ จอคอมพิวเตอร์
สำหรับจอของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนั้นมีมากมายหลายแบบถ้าจะ กล่าวถึงตามลักษณะการทำงานกันจริงๆ ก็จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทก็คือ จอแบบที่ใช้หลอดภาพในการแสดงผล หรือที่เรียกกันว่า Monitor หรือ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) ส่วนอีกประเภทนั้นก็คือ จอแบบที่ใช้การเรืองแสงของผลึกที่เรียกว่าจอ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) ซึ่งมีการทำงานที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ในส่วนของจอมอนิเตอร์นั้นก็สามารถที่จะแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทนั้นก็คือ จอธรรมดา หรือจอแบบ Shadow Mask ซึ่งจะมีลักษณะของหน้าจอที่โค้งเล็กน้อย ส่วนอีกประเภทคือ จอแบน หรือจอแบบ Trinitron ซึ่งจอแบบนี้จะมีหน้าจอที่แบนเรียบเป็นแนวตรง ซึ่งตามผู้ ผลิตจะเรียกเทคโนโลยีนี้แตกต่างกันออกไป และจะมีการทำงานหรือส่วนเพิ่มเติมที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย
การทำงานของ จอภาพ ในแบบต่างๆ
เพื่อเป็นการที่เราจะสามารถพิจารณาเพื่อจะเลือกซื้อจอของเครื่อง คอมพิวเตอร์ได้นั้นเราจำเป็นต้อง รู้จักพื้นฐานการทำงานของจอแต่ละแบบกันก่อนซึ่ง การทำงานนั้นจะแบบเป็น 2 ประเภทเป็นหลักนั้นก็คือ แบบที่ใช้หลอดภาพ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) กับผลึก LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) ซึ่งการทำงานต่างๆ จะมีดังนี้

สำหรับจอคอมพิวเตอร์แบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) นั้น ย่อมาจาก Cathode Ray Tube

ซึ่งการทำงานของจอประเภทนี้จะทำงานโดย อาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ ซึ่งในส่วยของจอแบบ Shadow Mask นั้น จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็กๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch ซึ่งในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน
ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad ในส่วนของจอแบบ Trinitron นั้นจะมีการทำงานที่เหมือนกันแต่ต่างกันที่ ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้ โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้ มากขึ้น สำหรับจอ Trinitron ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกัน ว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย

จอคอมพิวเตอร์แบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) หรือ Liquid Crystal Display

การทำงานนั้นจะไม่เหมือนกับจอแบบ CRT Monitor ซีอาร์ที มอนิเตอร์  แม้สักนิดเดียว ซึ่งการแสดงภาพนั้นจะซับซ้อนกว่ามาก การทำงานนั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวด มาทำการเปลี่ยนและ บังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการซึ่งการแสดงสีนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนด ไว้ตามมาตรฐานของแต่ละ บริษัท จึงทำให้จอแบบ LCD Monitor แอลซีดี มอนิเตอร์  มีขนาดที่บางกว่าจอ CRT Monitor อยู่ มาก อีกทั้งยังกินไฟน้อยกว่า จึงทำให้ผู้ผลิตนำไปใช้งานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่โน้ตบุ๊ค และเดสโน้ต ซึ่งทำให้เครื่องมีขนาดที่บางและเล็กสามารถพกพาไปได้สะดวก ในส่วนของการใช้งานกับเครื่องเดสก์ท็อปทั่วไป ก็มีซึ่งจอแบบ LCD Monitor นี้จะมีราคาที่แพงกว่าจอทั่วไปอยู่ประมาณ 2 เท่าของ ราคาในปัจจุบัน
สำหรับผู้ที่ต้องการที่จะเลือกซื้อจอคอมพิวเตอร์เมื่อไปตามสถานที่ จำหน่ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไปจะพบว่า มีจอคอวพิวเตอร์มากมายหลายรุ่น หลาย ยี่ห้อ ซึ่งทำให้การเลือกซื้อนั้นเป็นไปได้อย่างยากลำบากจริงๆ โดยแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อก็จะมีการโปรโมตเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีอยู่ในสินค้าของตนเอง ซึ่งสิ่งที่ สำคัญๆ ที่เราจะสามารถดูได้ถึงประสิทธิภาพของจอคอมพิวเตอร์ และเป็นส่วนที่จะบอกถึงประสิทธิภาพในการใช้งานนั้นมีอยู่เหมือนกันไม่กี่ อย่าง ซึ่งอย่างน้อย ก็ทำให้ผู้ที่ต้องการจะซื้อนั้น สามารถได้เลือกจอคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพได้ตามความต้องการ โดยรายเอียดของจอคอมพิวเตอร์นั้นจะมีได้ดังนี้ คือ
Dot Pitch หรือระยะห่างระหว่างรูของช่องโลหะทั้งแบบ Shadow Mask และ Trinitron ซึ่งปกติแล้วจะมีการวัดระยะห่างกันเป็น มิลลิเมตร (mm) โดยค่า ของ Dot Pitch นี้จะส่งผลต่อการปรับความละเอียดของ จอภาพ หรือ Resolution ซึ่งจอภาพในปัจจุบันนั้นจะมีระยะห่างของ Dot Pitch นี้อยู่ที่ประมาณ 0.28-0.22 ซึ่งยิ่งมีความห่างของ Dot Pitch นี้น้อยเท่าไรก็ยิ่งทำให้ภาพที่ได้มีความคมชัดมากขึ้นเท่านั้น และยิ่งจอที่มีขนาดใหญ่ๆ อย่าง 19-21 นิ้วนั้น จำเป็นต้องมีระยะห่างน้อยลงเพื่อที่จะสามารถแสดงความละเอียดได้สูงๆ อย่าง 1600X1200 ซึ่งจะทำให้ภาพที่ได้มีขนาดพอดีและดูสบายตา เพราะว่าการใช้ ระดับความละเอียดที่ต่ำกับจอภาพขนาดใหญ่ๆ จะทำให้ภาพที่ได้มีขนาดใหญ่ตาม และมีความชัดเจนต่ำจึงทำให้ใช้ความพยายามเพ่งสายตามองมากขึ้นทำให้ เกิดผลเสียกับสายตาได้
Refresh Rate หรือ ความถี่ในการแสดงภาพ ซึ่งในการทำงานของจอภาพนั้นสามารถแสดงผลได้โดยการใช้การเรืองแสงของสาร ประกอบฟอสฟอรัสที่ฉาบอยู่บน จอภาพ โดยสารนี้จะเรืองแสงเมื่อมีการยิงอิเล็คตรอนมาตกกระทบ โดยสารจะไม่มีการเรืองแสงอยู่ตลอดเวลา จึงต้องอาศัยการยิงลำแสงซ้ำที่เดิมบ่อยๆ โดยการยิง ลำแสงนั้นจะยิงไล่กวาดจากซ้ายบนไปทางขวา แล้วกลับมาเริ่มต้นที่ด้านซ้ายของแถวใหม่ จนเมื่อถึงขวาล่างแล้วจะทำการทบกลับมาที่ซ้ายบนใหม่ โดยจะทำวน แบบนี้ไปเรื่อยๆ จึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของภาพเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาโดยการยิง ลำแสงอิเล็คตรอนนี้เรียกว่า Raster Scan โดยที่อัตรา Refresh Rate นี้คืออัตราความถี่ของการยิงลำแสงอิเล็คตรอนจากมุมซ้ายบนสุดไปจนถึงมุมขวา ล่าง หรือครบทั้งหน้าจอว่าสามารถทำการยิงได้กี่รอบใน 1 วินาที ซึ่งเรียกว่า Vertical Refresh Rate ซึ่งที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า Refresh Rate นั้นเอง ในส่วนของการเลือกซื้อนั้น เราจำเป็นต้องเลือกที่อัตรา Refresh Rate ที่สูงเนื่องจากว่าอัตรา Refresh Rate สูงๆ นั้นจะทำให้การให้ภาพนั้นมีความนิ่งไม่สั่นไหว แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับขนาดของจอมอนิเตอร์ ว่ามีขนาดเท่าใด ซึ่งยิ่งมีขนาดใหญ่อัตรา Refresh Rate ควรมีอัตราที่สูงพอสมควรเพราะจำเป็นต้องใช้ ความละเอียด หรือ Resolution ที่สูง โดยอัตรา ที่จะทำให้เกิดความสบายตา หรือมีความนิ่งของภาพนั้นควรที่จะอยู่ที่ประมาณ 65-75Hz โดยอัตรา Refresh Rate จะมีผลต่อสายตาเราโดยตรงอย่างมาก ซึ่งถ้าอัตรา Refresh Rate ที่ต่ำจะทำให้ภาพที่ได้นั้นมีอาการสั่น กระพริบ ทำให้เกิดผลเสียกับสายตาได้อย่างมาก
อัตรา Refresh Rate ควรจะเป็นที่ 70 Hz
Resolution หรือความละเอียดของหน้า จอภาพ โดยเป็นความละเอียดในการแสดงผลภาพต่อ พิกเซล (Pixels) ซึ่งยิ่งสามารถแสดงในความละเอียดที่สูงขึ้นจะทำให้ ภาพมีขนาดเล็กลงเพราะว่า ในแต่ละระดับความละเอียดจะบ่งบอกถึงขนาดในการแสดงผลในระดับกว้าง X ยาว กล่าวคือ ความละเอียด 800X600 จะสามารถ แสดงความละเอียดที่ 800 พิกเซลตามความกว้างแนวนอนของจอภาพ และ600พิกเซลในความยาวแนวตั้งของจอภาพ ซึ่งในความละเอียดสูงก็จะทำให้มีพื้นที่ใน การแสดงผลที่มากขึ้น ในส่วนของความละเอียดของหน้าจอนี้ควรที่จะสามารถปรับระดับความละเอียดที่ เหมาะสมกับการทำงาน และขนาดของจอภาพ ซึ่งจอแต่ ละขนาดจะมีขีดจำกัดในการแสดงความละเอียดเช่น จอขนาด 15นิ้ว จะสามารถแสดงได้สูงสุดที่ 1024X768 พิกเซล โดยจอที่มีคุณภาพจะสามารถที่จะปรับ ความละเอียดได้มากๆ โดยความละเอียดที่จะมีผลกับอัตรา Refresh Rate ของแต่ละจอซึ่งแตกต่างกันออกไป
เราสามารถที่จะปรับความละเอียดของจอภาพได้หลายแบบตามความต้องการ
Size หรือขนาดของหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งเราจะสามารถได้คราวๆ โดยการวัดขนาดจากมุมบนด้านใดด้านหนึ่งมายังมุมล่างอีกด้าน เช่นถ้าเราต้องการ วัดจากมุมซ้ายบน ก็ต้องมาจบที่มุมขวาล่าง ซึ่งขนาดจะไม่มีการกำหนดที่แต่นอนในแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ ซึ่งขนาดของจอคอมพิวเตอร์จะมีขนาดตั้งแต่ 14นิ้ว, 15นิ้ว, 17นิ้ว, 21นิ้ว และขนาดที่ใหญ่กว่านั้นซึ่งการใช้งานและเลือกซื้อควรที่จะให้เหมาะสมกับการ ทำงานเช่น การทำงานด้านเอกสารหรือ ใช้พิมพ์งานควรที่ จะใช้ขนาดประมาณ 14 -15 นิ้ว เพราะถ้าใหญ่กว่านั้นจะทำให้ตัวหนังสือมีขนาดใหญ่ทำให้ต้องเพิ่งมากเสีย สุขภาพของสายตา และการทำงานทางด้านกราฟิก หรือเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์นั้นควรที่จะใช้ขนาด 17-25 นิ้ว เพราะจำเป็นต้องใช้ความละเอียดในระดับสูงในการแสดงผลเพื่อให้มองเห็นองค์ ประกอบของภาพ อย่างชัดเจนมากขึ้น ซึ่งขนาดของจอภาพนั้น อาจจะสามารถเลือกได้แล้วแต่ความถนัดของแต่ละบุคคลอีกด้วย
ในส่วนของรายละเอียดต่างๆ ที่นอกจากนี้คือ ดีไซด์ของจอภาพ และฟังก์ชั่นต่างๆในการทำงานซึ่งส่วยใหญ่นั้นมักจะขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานซึ่ง แต่ละคนจะ มีรสนิยมและสไตล์ในการใช้งานที่แต่ต่างกันออกไป ซึ่งจอคอมพิวเตอร์แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อนั้นก็จะมีการออกแบบมาแตกต่างกันออก ไป เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อ ได้ตามความต้องการ ซึ่งส่วนที่สำคัญหลักก็จะมีดังที่กล่าวมาแล้วคือ Dot Pitch (ระยะห่างของจุด), Refresh Rate (ความถี่ในการแสดงผล), Reso -- lution (ความละเอียดของภาพ) และSize (ขนาดของจอภาพ) ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งในการเลือกซื้อ
เทคโนโลยีใหม่ๆ ของจอคอมพิวเตอร์ ในส่วนของเทคโนโลยีของจอนั้นแต่ละผู้ผลิตจะมีการนำเอาเทคโนโลยีที่พัฒนามา ใช้งานในโปรโมตสินค้าของตนเอง ซึ่งแต่ผู้ผลิตจะมีเทคโนโลยีที่ เรียกแตกต่างกันออกไปโดยอาศัยหลักในการประยุกต์เทคโนโลยีต่างๆ ไว้ด้วยกัน ซึ่งเทคโนโลยีใหม่ๆ ของจอภาพเช่น
เทคโนโลยี LightFrame 2 ของ Philips ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ผสานประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์ไว้ด้วยกัน โดยการทำงานในรูปแบบ Automatic Object Detection For Internet Browsing ซึ่งจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบจากการใช้งานอินเตอร์เน็ตว่ามีไฟล์รูปภาพหรือ วิดีโอหรือไม่ ซึ่งถ้ามีก็จะทำการปรับความคมชัดในส่วยเฉพาะรูปหรือภาพวิดีโอให้มีความสว่าง คมชัดขึ้น และยังสนับสนุนการทำงานเกี่ยวกับการชมภาพยนตร์ และเล่นเกมส์ อีกด้วย
เทคโนโลยี ICE ของ Philips เป็นเทคโนโลยีในการกำจัดเคลื่อนรบกวนทางแม่เหล็กเพื่อให้ยังคงรักษาระดับแสง ของเฉดสีไว้ได้ดังเดิม ซึ่งเป็น เทคโนโลยี เฉพาะของ Philips เท่านั้น
เทคโนโลยี MagicBright ของ Samsung เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้จอภาพสามารถให้แสงสว่างสูง
ถึงขีดระดับ 330cd/m2 พร้อมทั้งยัง สามารถใช้งานโหมดต่างๆ ในการปรับระดับของแสงให้สามารถใช้งานได้ตามความเหมาะสมเพื่อเป็นการรักษาสาย ตา
เทคโนโลยี Digital Dynamic Convergence ของ Sony จะช่วยให้ได้จอภาพที่มีลักษณะการรวมกันของอิเล็dตรอน 3 ลำพอดีทุกจุดไม่ว่าจะ เป็นกลางจอหรือว่าริมของจอภาพก็ตามซึ่งการปรับคอนเวอร์เจ็นต์แบบไดนามิกนั้น ทำให้ได้ภาพที่สีอิ่มตัวตลอดทั้งจอภาพ เพราะ Digital Convergence นั้นช่วยลดการเหลื่อมของลำอิเล็กตรอนจากเดิมที่ยอมให้ลำอิเล็คตรอนที่มุมผิด ได้ 4 มม.ก็ลดลงมาเหลือ 3.5 มม. ทำให้การเกิดสีเหลื่อม (Misconvergence) ที่บริเวณมุมและขอบจอลดลงไป
เทคโนโลยี Flatron ของ LG ซึ่งจริงๆ เทคโนโลยี Flatron คือ การใช้หลอดภาพดำที่เรียกว่าแบบ Black Trinitron แต่ชื่อ ไตรนิตรอน (Trinitron) ถูกจดลิขสิทธิ์โดยบริษัท SONY ซึ่งในส่วนของเทคโนโลยี Flatron นั้นจะดีลักษณะที่ดีกว่า Trinitron ของ Sony คือมีลักษณที่เรียกว่าแบน "อย่างธรรมชาติ" หรือ "Natural Flat" ซึ่งทำให้การมอง และใช้งานนั้นดูสบายตามีสีที่สดใส อีกทั้งจอที่ดำสนิททำให้การให้แสงนั้นมีคุณภาพคมชัด อีก ทั้งจอยังเคลือบด้วย W-ARAS ที่ป้องกันการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งเป็นอันตรายและจอภาพที่ปราศจาก ความโค้งใดๆ นอกจากนี้ FLATON ยังมี Flat Tension Mask ซึ่งแอลจี อีเลคทรอนิคส์ ได้พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะ ดังนั้น FLATRON จึงให้ภาพที่สมจริงมาก
การเลือกใช้จอ LCD Monitor สำหรับจอแบบ แอลซีดี มอนิเตอร์ นั้น จากการทำงานของมันแล้วจะรู้ได้ว่าจอแบบ LCD Monitor นั้น สามารถที่จะช่วยในการลดอัตรา เสี่ยงที่สายตาเราจะรับรังสีที่แผ่ ออกมาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพราะจอแบบ แอลซีดี มอนิเตอร์ นั้นในหลักการในการใช้ความร้อนของขดลวดในการทำให้ผลึกเหลวแสดงภาพออกมา จึงทำให้จอ LCD Monitor นี้สามารถที่จะถนอมสายตาได้ อีกทั้งแสงสว่างที่ได้จะไม่สั่นไหวเหมือนจอแบบที่ใช้หลอดภาพ เพราะจอแบบ แอลซีดี มอนิเตอร์ นั้นไม่จำเป็นต้องทำการยิงแสง อิเล็กตรอน เหมือนจอแบบหลอดภาพ นั้นก็เป็นข้อดีของจอแบบ LCD Monitor และ ข้อดีอีกอย่าง คือขนาดที่เบาและบางทำให้มีเนื้อที่บนโต๊ะทำงานเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังใช้พลังงานไฟฟ้า น้อยกว่าทำให้สามารถประหยัดไฟฟ้าไปได้มาก ส่วนของข้อเสียนั้นก็คือ ราคาเพราะราคานั้นจะสูงกว่าจอแบบอื่นๆ แต่ในตอนนี้นั้นราคาได้ลดลงมามาก อยู่ที่ ประมาณ หมื่นต้นๆ ของจอขนาด 15นิ้ว ซึ่งจอ LCD Monitor นี้ก็เป็นที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีงบในการเลือกซื้อเพราะดูจากข้อดีแล้วซึ่งจะคุ้มค่ามากเมื่อเทียบ กับเงินที่จะ สูญเสียไป
เมื่อเราทำความเข้าใจถึงหลักการทำงานของจอคอมพิวเตอร์แล้ว ทำให้ผู้ที่จะเลือกซื้อนั้นสามารถที่จะเลือกซื้อจอได้ตรงความต้องการในส่วน ของ การเลือกซื้อนั้น อย่างที่กล่าวไว้ว่าการใช้งานจอคอมพิวเตอร์นั้นจะขึ้นอยู่กับความพอใจ และความถนัดของผู้ใช้งานเป็นหลัก ซึ่งการเลือกซื้อที่จะแนะนำได้นั้นคือ การเลือกให้เหมาะสมกับการทำงาน และเพื่อที่รักษาถนอมสายตาของผู้ใช้จึงควรที่จะเลือกซื้อจอที่มีคุณภาพให้ ได้ตามมาตรฐานมีระของขนาด ความละเอียด และการให้แสงที่เหมาะสมกับงาน เมื่อผู้ที่ต้องการจะซื้อนั้นได้จอคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพมาใช้งานแล้วนั้น จะทำให้การทำงานเป็นไปได้อย่างราบรื่น และไม่เสีย สุขภาพด้วย ดังนั้นจอคอมพิวเตอร์จึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถที่จะมองข้ามในการเลือกซื้อไป ได้เลยนะครับ
การเลือกซื้อจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์)
สำหรับเมื่อช่วงปีที่ผ่านจอภาพแบบ LCD Monitor นั้นได้มีการเปิดตัวจอภาพรุ่นใหม่ๆ มามากมายอีกทั้งยังมีการลดราคาให้สามารถที่ จะเลือกซื้อ ได้ง่ายขึ้น จึงทำให้ผู้ที่ต้องการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ไปใช้งานนั้นสามารถที่จะ เลือกซื้อจอภาพแบบ แอลซีดี มอนิเตอร์ ไปใช้งานกัน แต่ก็ยังมี ข้อที่สงสัยกันโดยมากว่าการเลือกซื้อจอภาพ LCD Monitor นั้นจะแตกต่างกับจอภาพแบบ CRT Monitor บ้างหรือไม่ ซึ่งเมื่อจะดูจากเทคโนโลยีแล้วนั้น ก็ย่อมจะมีส่วนที่แตกต่างกันมาก ดังนั้นก็เลือกซื้อจอภาพ แอลซีดี มอนิเตอร์ จึงมีข้อที่ให้สังเกตในการเลือกซื้อที่แตกต่างจากจอภาพ ซีอาร์ที มอนิเตอร์ ออกไปเป็นบางส่วน ซึ่งก็จะกล่าวกันต่อไป

อย่างที่กล่าวมาจอภาพแบบ LCD Monitor นั้นมีการทำงานที่แตกต่างจากจอภาพแบบ CRT Monitor นั้นก็เพราะว่าเทคโนโลยีของจอภาพแบบ แอลซีดี มอนิเตอร์ หรือ Liquid Crystal Display ซึ่งเป็นจอภาพที่เป็นการแสดงภาพแบบดิจิตอล (Digital) โดยภาพที่ได้นั้นเกิดจากการปรากฎ ขึ้นจากแสงที่ปล่อยออกมาจากหลอดไฟ ด้านหลังของจอภาพ (Back light) และแสงนั้นก็จะผ่านชั้นกรองแสง (Polarized filter) แล้วแสงนั้นก็จะทำการผ่านต่อไปยังชั้นที่ผลึกคริสตัลเหลวที่เรียง ตัวกันเป็น 3 เซลล์ด้วยกัน นั้นคือ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงิน โดยแสงที่ได้นั้นจะกลายเป็นแต่ล่ะพิกเซล (Pixel) และรวมกันจนกลายเป็นภาพที่ได้ ออกมาทางหน้าจอ โดยจอภาพแบบ LCD Monitor นั้นได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนสามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทนั้นคือ
จอภาพที่ใช้เทคโนโลยี STN (Super-Twisted Nematic) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ให้ความคมชัด และแสงสว่างไม่มากนักจึงทำให้นิยมนำไปใช้งานกับอุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ขนาด เล็กๆ อย่างโทรศัพท์มือถือ เกมเคลื่อนที่ หรือจอภาพของ Palm ที่เป็นแบบขาวดำ
จอภาพที่ใช้เทคโนโลยี TFT (Thin Film Transistor) เป็นเทคโนโลยีที่นิยมนำมาใช้งานทั้งจอของเครื่องโน๊ตบุ๊ค (Notebook) และจอภาพที่นำมาใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปเป็นอย่างมากเนื่อง จอากว่าภาพที่ได้จากเทคโนโลยีนี้นั้นจะมีความคมชัด และแสงสว่างกว่าแบบแรกเป็นอย่างมาก
เมื่อได้รู้ถึงเทคโนโลยีในการแสงภาพของจอภาพแบบ แอลซีดี มอนิเตอร์ กันแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าจอภาพแบบ LCD Monitor นั้นมีขั้นตอนในการแสดงภาพที่แตกต่างจาก จอภาพ แบบ CRT Monitor อย่าง เห็นได้ชัดสำหรับการเลือกซื้อที่สามารถจะเลือกซื้อจอภาพที่ได้อย่างถูกต้อง นั้นก็จะมีหลายวิธีที่จะสามารถที่จะพิจารณาในการเลือกซื้อ จอภาพ แบบ LCD Monitor ได้เป็นอย่างดี โดยขั้นตอนนี้ก็จะมีดังต่อไปนี้
เลือกขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งาน ในการใช้งานจอภาพนั้นจำเป็นจะต้องเลือกใช้งานขนาดของจอภาพให้เหมาะสมกับงาน เป็นอย่างมาก เพื่อที่จะได้ช่วยให้การทำงานนั้นมี ประสิทธิ -ภาพมายิ่งขึ้น อย่างเช่นการทำงานที่เกี่ยวกับงานเอกสารนั้น ก็สามารถที่จะเลือกซื้อจอที่มีขนาดตังแต่ 14"-17" ได้ แต่ถ้าจะใช้จอภาพที่มีขนาดใหญ่ไปกว่านี้ ก็จำเป็นต้องปรับขนาดของตัวหนังสือให้เล็กลงเพราะถ้าไม่ทำเช่นนี้ก้อาจจะทำ ให้เกิดอาการปวดตาขึ้นมาดได้เพราะตัวหนังสือที่แสดงมีขนาดใหญ่จนเกินไป
สำหรับการทำงานทางด้านการออกแบบกราฟิก ตกแต่งรูปภาพ การใช้จอภาพที่มีขนาดใหญ่อย่าง 17", 19" และ 21" นั้นก็จะช่วยให้การทำงาน นั้นมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพราะการทำงานแบบนี้จะเป็นต้องใช้ความละเอียด และการมองภาพ และวัตถุบนจอภาพที่มากกว่าการทำงานปกติเป็นอย่างมาก และสำหรับผู้ที่ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อความบันเทิงนั้น สามารถที่จะเลือกใช้งานจอภาพได้ตามความเหมาะสมกับงบที่มีอยู่ โดยน่าจะเริ่มใช้งานที่ 17" ขึ้นไป เนื่องจากว่าการใช้งานจอภาพขนาด 15" นั้นดูเหมือนจะไม่เพียงพอกับการใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม และชมภาพยนตร์ แต่สิ่งที่สำคัญนั้นคือจอภาพ แบบ แอลซีดี มอนิเตอร์ นั้นที่มีขนาดใหญ่นั้นราคายังคงแพงอยู่เป็นอย่างมาก ซึ่งเมื่อคิดจะเลือกซื้อนั้นให้คำนึงถึงความเหมาะสม และงบให้เป็นอย่างมาก
ในส่วนของเรื่องความละเอียดของจอภาพแบบ LCD Monitor นั้น จะมีจำนวนของ Pixel ที่แน่นอน ซึ่งแตกต่างจากจอภาพแบบ CRT Monitor ที่มีจำนวนของ Dot Pitch ที่ไม่แน่นอน และสามารถที่จะปรับความลพเอียดได้หลายค่า ขึ้นอยู่กับแต่ละเทคโนโลยี แต่สำหรับจอภาพแบบ แอลซีดี มอนิเตอร์ นั้น แม้จอภาพจะใช้เทคโนโลยีที่แตก ต่างกันแต่ความละเอียดสูงสุดของจอภาพก็จะเท่ากันเสมอ เช่น จอภาพขนาด 15" นั้นก็จะมีความละเอียดสูงสุดที่ 1024x768 เท่ากัน และจอภาพขนาด 17" นั้นก็จะมีความละเอียดสูงสุดที่ 1240x1024 เท่ากันอีกเช่นกัน จะเห็นได้ว่าจอภาพที่มีขนาดใหญ่ก็จะมีค่าความละเอียดของภาพสูงขึ้นตามลำดับ นี้ก็เป็นอีก ข้อหนึ่งที่น่าสังเกตในการเลือกซื้อจอภาพแบบ LCD Monitor
ค่าของ Dot Pitch สำหรับค่าระยะห่างของจุดภาพนั้น อย่างที่กล่าวมากข้างต้นนั้นจอภาพแบบ แอลซีดี มอนิเตอร์ อาศัยหลักการเรืองแสงของผลึกเหลว ดังนั้นค่าระยะห่างของจุด ภาพนั้น จึงมักจะเท่าๆ กันเสมอในทุกๆ เทคโนโลยีที่จอภาพมีการใช้งาน ซึ่งในส่วนนี้นั้นก็มักจะมีบ้างผู้ผลิตที่สามารถจะทำการปรับเปลี่ยนระยะให้ มีขนาดเล็กลง ได้บ้างเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่ายิ่งค่าของ Dot Pitch มีขนาดเล็กลงความละเอียด และความคมชัดของภาพ ก็มักจะมีมากขึ้นตามไปด้วย สำหรับจอภาพ ขนาด 15" นั้นส่วนใหญ่แล้วก็มักจะมีค่าของ Dot Pitch ที่ 0.297 มิลลิเมตร สำหรับจอภาพนาด 17" นั้นก็จะมีค่า 0.264 มิลลิเมตร ซึ่งจอภาพบ้างจออาจจะ มีค่าที่แตกต่างไป แต่ค่าของ Doit Pitch ที่ให้ไว้นั้นเป็นมาตรฐานทของจอภาพแบบ LCD Monitor แอลซีดี มอนิเตอร์ เป็นส่วนใหญ่
จำนวนของเม็ดสี (Bit Depth) สำหรับค่าของ Bit Depth นั้นเป็นค่าตัวเลข ที่จะบอกถึงความสามารถในการแสดงของจำนวนเม็ดสีที่ จอภาพ สามารถที่จะแสดงได้ โดยค่าตัวเลข ดังกล่าวจะอยู่ในรูปของตัวเลขในรูปแบบดิจิตอล คือ 8 bit, 16 bit และ 24 bit วึ่งยิ่งค่าของ Bit Depth ยิ่งมาก สีที่แสดงออกมาก็จะยิ่งมากขึ้นตาม นั้นคือถ้า เป็นแบบ 8 bit สีที่ได้ ก็คือ ตัวเลขฐาน 2 คูณกัน 8 ครั้ง นั้นคือ 2x2x2x2x2x2x2x2 ก็จะเท่ากับ 256 สี และถ้าหากเป็นแบบ 16 bit แล้ว สีที่ได้ก็จะมีจำนวน 65,536 สี ซึ่งเป็นค่าที่เพียงพอสำหรับการแสดงภาพถ่าย และภาพ 3 มิติ ทั่วไป ถ้าถ้าจะให้ดี และสีที่แสดงออกมาไม่มีผิดเพี้ยน และได้สีที่ครบถ้วนนั้น ก็ควรที่ จะใช้งานที่ระดับ Bit Depth มากว่า 16 bit ขึ้นไป
สำหรับสิ่งที่กล่าวมากใน 4 ข้อแรกนั้นเป็นวิธีในการที่จะดูถึงความสามารถของจอภาพ ซึ่งทั้ง 4 ข้อนั้นสามารถที่จะใช้รวมกับการเลือกซื้อจอภาพแบบ CRT Monitor ได้เหมือนกัน เนื่องจากว่าทั้ง แอลซีดี มอนิเตอร์ และ ซีอาร์ที มอนิเตอร์ จะมีละเอียดในการเลือกซื้อเหมือนกันทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมา ซึ่งต่อไปจะเป็นการกล่าวถึงวิธีการเลือกซื้อที่มี เฉพาะในจอภาพแบบ LCD Monitor เท่านั้น แต่ในบ้างครั้งก็จะมีปรากฏในรายละเอียดทางด้านเทคโนโลยีของ CRT Monitor แต่ก็ไม่สามารถที่จะเป็นสิ่งชี้ชัดในการเลือกซื้อได้ เพราะค่าดังกล่าวมักจะเท่าๆ กันเกือบทั้งหมด
สำหรับค่าของ Viewing Angle นี้เป็นค่าของมุมในการแสดงภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่ในเฉพาะจอภาพแบบ LCD Monitor เท่านั้น เพราะจอภาพแบบ แอลซีดี มอนิเตอร์ ดันมักจะมีการสะท้อนของแสงสีขาวที่ออกมาจากจอภาพ ทำให้ภาพที่ได้นั้นพร่ามัว และสีของภาพจะไม่ชัดเจนไม่เหมือนจริง ซึ่งในจอภาพในแต่ละรุ่นจะมีค่านี้ เป็น องศา นั้นคือ มุมที่สามารถมองเฉียงออกจากกลางจอภาพได้เป็นระยะกี่องศา ทั้ง 4 ด้าน โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ทิศทาง เป็นแนวตั้ง คือ มองจากด้านบน และ ด้านล่าง แนวนอน คือ ด้านซ้าย และด้านขวา โดยที่ค่านี้ยิ่งมากเท่าไร มุมมองที่สามารถจะแสดงแล้วภาพไม่พร่ามัว ก็จะยิ่งมากตามขึ้นไปด้วย
นี่รูปแบบของมุมในการสะท้อนของแสง และมุมที่จะได้รับภาพชัดเจน ค่าความสว่างของ จอภาพ ที่ดีนั้น ควรที่จะมีความสว่างที่เพียงพอกับการใช้งานในระดับปกติ แต่ถ้าจอภาพนั้นมีแสงสว่างมากจนเกินไปก็จะทำให้แสงสัขาวมีมากเกิดไป ทำให้ภาพนั้นดูซีด และไม่เป็นผลดีกับสายตาอย่างแน่นอน ซึ่งค่านี้สามารถที่จะดูได้ที่ค่า Contrast Ratio ซึ่งเป็นค่าของอัตราส่วนระหว่างความสว่างของ แสงสีขาว กับ ความคมชัดของ แสงสีดำ โดยในบ้างครั้ง ค่าเหล่านี้มักจะไม่มีผลกับการเลือกซื้อจอภาพแบบ LCD Monitor แอลซีดี มอนิเตอร์  มาก นัก เพราะเนื่องจากว่าผู้ซื้อส่วนใหญ่แล้ว มักจะตักสินใจเลือกซื้อจอภาพที่ให้แสงสว่างได้เหมาะสมกับผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่ กล่าวคือในการเลือกซื้อนั้นผู้ซื้อควรที่จะทำการทดสอบใช้งานด้วยสายตาตนเอง จะเป็นดีที่สุด เพราะว่าความเหมาะสมกับแสงสว่างที่ใช้งานในสายตาของคนแต่ล่ะคนย่อมที่จะแตก ต่างกันออกไป การทดสอบด้วยตาตนเองจะเป็นการดีที่สุด
ความเร็วในการตอบสนองนั้น เราสามารถที่จะวัดได้จาดค่า Response time ซึ่งเป็นค่าที่จะทำการวัดช่วงระยะเวลาที่ภาพสามารถตอบสนอง และแสดงเป็นภาพได้ โดยจะมีหน่วยเป็น มิลลิวินาที ซึ่งค่านี้ยิ่งน้อยเท่าไร ก็แสดงว่าจอภาพนั้นสามารถที่จะแสดงภาพได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยค่านี้จะไม่มีผลกับ ผู้ที่ทำงานทางด้านเอกสารทั่วไป แต่จะเห็นผลกับผู้ที่ใช้งานจอภาพในด้านการแสดงภาพ วิดีโอ การทำงานทางด้านกราฟิกต่าง รวมทั้งการเล่นเกม เพราะถ้าค่านี้ ยิ่งน้อยเท่าไร อาการที่จะกระตุกของภาพระหว่างการแสดงภาพยิ่งลดน้อยลง
ช่องต่อแบบ อนาล็อก (Analog) และแบบ ดิจิตอล (Digital) โดยทั่วไปแล้วจอภาพนั้นจะทำการรับข้อมูลที่จะนำมาแสดงภาพจากตัวกราฟิกการ์ด ที่มีการเก็บข้อมูลดังกล่าวไว้ในหน่วยความจำ ทั้งแบบ Frame Buffer หรือ Video RAM ซึ่งข้อมูลที่เก็บไว้นั้นจะอยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิจิตอล ซึ่งในการส่งข้อมูลทั่วไป โดยผ่านทางพอร์ตแบบ VGA หรือที่เรียกอีกอย่าง ว่าพอร์ด D-Sub 15 pin นั้นกราฟิกการ์ดจะทำการแปลงสัญญาณข้อมูลที่เป็นดิจิตอล ให้เป็นสัญญาณแบบอนาล็อก แล้วจึงค่อยส่งสัญญาณข้อมูลออกมาทาง สายสัญญาณ โดยที่สัญญาณนั้นจะมีการแบ่งเป็นสัญญาณของแต่ละแม่สี นั้นคือ สีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียว ซึ่งจะต่างจากการส่งสัญญาณของโทรทัศน์ทั่วไปที่ จะส่งรวมกันมา จึงเป็นเหตุผลที่ว่าจอภาพที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์นั้นจะมีคุณภาพของภาพสูงก ว่าเป็ยอย่างมาก แต่การส่งสัญญาณแบบนี้นั้นก็ยังทำให้คุณภาพ ของภาพนั้นเสียไป ในขั้นตอนการแปลงสัญญาณจากดิจิตอล เป็นอนาล็อก ถึงแม้ในขั้นตอนการแปลงจะใช้เวลาไม่นอน แต่ก็เพียงพอที่จะเป็นเพิ่มเวลาในการแสดง ภาพมากขึ้น ในขณะที่คุณภาพลดลง ดังนั้นจึงได้มีพอร์ตแบบ ดิจิตอล หรือ DVI (Digital Video Interface) โดยเทคโนโลยี DVI นั้นจะเป็นการนำเอาข้อมูล ที่อยู่ในรูปแบบดิจิตอลที่อยูในหน่วยความจำของกราฟิกการ์ด มาแสดงบนจอภาพเลย โดยไม่มีการแปลงสัญญาณ จึงทำให้สัญญาณภาพนั้นมีคุณภาพ และความ เร็วมากขึ้น โดยการเลือกซื้อนั้น ก็จำเป็นต้องอาศัยกราฟิกการ์ดที่มีพอร์ตแบบ DVI ไว้ให้ใช้งาน และที่ตัวจอภาพก็จำเป็นต้องมีพอร์ตแบบ DVI ติดตั้งอยู่เหมือน กัน จึงจะสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ช่องต่อแบบ D-Sub 15pin และแบบ DVI ที่อยู่บนกราฟิกการ์ด
ที่จอภาพที่มีช่อต่อทั้งแบบ D-Sub 15pinและแบบ DVI
จึงสามารถที่จะใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ระบบการจ่ายพลังงานไฟฟ้าเนื่องจากจอภาพแบบ LCD Monitor นั้นเป็นจอภาพที่ขึ้นชื่อในด้านการประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี ดังนั้นระบบการจ่ายไฟฟ้าจึงมีส่วนสำคัญ และ แต่แตกต่างจากจอภาพแบบ CRT Monitor ซีอาร์ที มอนิเตอร์ เล็กน้อยตรงที่จอภาพแบบ LCD Monitor นั้นจะมีตัวแปลงกระแสไฟฟ้าทั้งแบบ ด้านใน (Internal) และแบบด้านนอก (External) ซึ่งจอภาพแบบ แอลซีดี มอนิเตอร์ ที่มีตัวแปลงกระแสไฟฟ้าแบบภายใน และภายนอกนั้นก็จะมีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวเอง โดยแบบภายในนั้นข้อดีก็คือ การติดตัง และเวลาเคลื่อนย้ายไฟใช้งานที่อื่นสามารถที่จะยกไปใช้งาน และติดตั้งได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องนำอุปกรณ์อื่นๆ ไปด้วย
สำหรับข้อเสียคือเรื่องของความหนาในส่วนของด้านหลังของจอภาพ ซึ่งจะเป็นต้องเพิ่มเนื้อที่ในการติดตั้งในส่วนของตัวแปลงกระแสไฟฟ้าเพิ่ม ขึ้น และข้อเสียอีกข้อหนึ่งคือเรื่องของความร้อนที่เกิดขึ้น เพราะตัวแปลงกระแสไฟฟ้า สำหรับจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) ที่มีตัวแปลงกระแสไฟฟ้าด้านนอกนั้นข้อดีก็คือ จอภาพจะมีความแบน และบางเป็นอย่างมาก และจะมีน้ำหนังที่เบา ความร้อนที่เกิดขึ้นในระหว่างใช้งานจะมีไม่มาก เนื่องจากนำส่วนการแปลงกระแสไฟฟ้าออก ไปไว้ข้างนอก ข้อเสียนั้นคือ การติดตั้ง และการเคลื่อนย้ายเป็นไปได้ลำบาก เนื่องจากจำเป็นต้องนำเอาตัวแปลงกระแสไฟฟ้าที่แยกออกมาก นำไปติดตั้งด้วยทุกครั้ง และตัวแปลงกระแสไฟฟ้าของจอภาพแบบละรุ่นมักจะแตกต่างกันจึงไม่สามารถที่จะใช้ งานร่วมกันได้ เพราะถ้าค่าของกระแสไฟฟ้าผิดจากที่ใช้ปกติ อาจจะทำ ให้เกิดความเสียหายขึ้นกับจอได้นั้นก็เป็นข้อสังเกตในการเลือกซื้อจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) ซึ่งเป็นข้อสังเกตที่สามารถที่จะทำการดูได้จากข้อมูลทางเทคนิค (Specification) ของจอในแต่ละรุ่นเพื่อที่จะทำการตัดสินใจเลือกซื้อจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) มาใช้งาน เพื่อให้ได้จอภาพที่เหมาะสมกับการใช้งาน และเหมาะกับตัว ผู้ใช้งานมากที่สุด โดยในแต่ละข้อนั้นก็สามารถที่จะนำไปประยุกต์ในการเลือกซื้อจอภาพแบบอื่นๆ ได้อีก สำหรับข้อแตกระหว่างจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) กับ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นก็สามารถที่จะทำการสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
รูปร่าง และน้ำหนัก: จอภาพ แบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นจะมีความบาง และแบนกว่าจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) เป้นอย่างมากนั้นเป็นเพราะเทคโนโลยีในการแสดงภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นข้อดีที่ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นได้เปรียบจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) อยู่มากอีกทั้งด้วยความบาง และแบนของจอ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) จึงทำให้น้ำหนักนั้นเบากว่าจอ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) เป็นอย่าง มาก การเคลื่อนย้ายจึงสามารถทำได้ง่ายกว่า
พื้นที่ในการแสดงผล:ในบางครั้งหลายๆ ท่านจะสังเกตเห็นได้ว่าจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นถึงแม้จะมีขนาดเท่ากับจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) มักจะมีพื้นที่ในการแสดงภาพมากกว่า อย่างเห็นได้ชัด นั้นก็เพราะว่าจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นสามารถที่จะแสดงภาพได้เต็มพื้นที่ อีกทั้งความบาง และความคมชัดของจอภาพ จึงทำให้ดู เหมือนจอภาพของ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) จะมีพื้นที่แสดงภาพมากกว่าจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) ที่มีขนาดเท่ากัน
ขนาดความหนาของจอภาพที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
ความคมชัดของภาพ:ถึงแม้ว่าจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นจะมีระยะห่างของจุด (Dot Pitch) มากว่าจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) บางรุ่น แต่ความคมชัด และสีสันนั้น จอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) จะมีอยู่สูงกว่าจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) อยู่มากเนื่องจากว่าจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) ใช้หลักการเรืองแสง และแสดงภาพแบบดิจิตอลภาพที่ได้จะแสดง ได้ถูกต้องตามตำแหน่งของภาพได้มากกว่า และเนื่องจากเป็นผลึกเหลว การไล่สีของภาพจึงสามารถที่จะทำได้ดีกว่าการยิงแสงของจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) ภาพที่ได้จึงคมชัดมากกว่า
การกระจายของรังสี นี้ก็เป็นอีกข้อหนึ่งที่เป็นที่พูดถึงกันมากในการใช้งานคอมพิวเตอร์ นั้นคือ การกระจายรังสีของจอภาพที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจริง และการ กระจายรังสี นี้มีอยู่ในทุกๆ จอภาพ ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ รวมทั้งอุปกรณ์แสดงภาพต่าง แต่ทำไหมถึงจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) จึงเป็นที่พูดถึงกับบ่อย ซึ่งจริงๆ แล้วจอภาพที่อาศัยหลักการยิงแสงอิเล็กตรอนให้เกิดภาพทุกจอ มีการกระจายรังสีเท่ากันไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ หรือจอ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) แต่การชม โทรทัศน์นั้นมักจะชมกันอยู่ในระยะที่ไกล จึงทำให้ได้รับรังสีน้อย และแทบจะไม่มีผลกระทบมากนัก แต่จอภาพที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์นั้น การใช้ งานส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะที่ใกล้ โอกาสที่จะได้รับรังสีจึงมีมากกว่าปกติ แต่สำหรับจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นการกระจายของรังสีนั้นมีน้อยกว่า จอภาพ แบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) ดังนั้นโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากรังสีจึงน้อยตามมา ซึ่งก็ช่วยให้สายตา และสุขภาพของผู้ใช้งานได้รับอันตรายจากการใช้งาน คอมพิวเตอร์ได้น้อยลง
ประหยัดพลังงานข้อนี้เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นใช้พลังงานที่น้อยกว่า จอภาพ แบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) ถึง 50%-60% ยิ่งถ้าในองค์ที่มีการใช้งานเครื่อง คอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก การใช้งาน จอภาพ แบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) จะเป็นการช่วยลดรายจ่ายในเรื่องของค่าไฟฟ้าในระยะยาวได้เป็นอย่างมาก และก็ถือ เป็นการประหยัดการใช้งานพลังงานไฟฟ้าได้เป็นอย่างมาก
ราคา สำหรับในข้อนนี้นั้น จอภาพ แบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) คงจะได้เปรียบอยู่มากเนื่องจากจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) นั้นราคาถูกกว่าจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) อยู่มาก เมื่อ เปรียบเทียบในขนาดของจอภาพเดียวกัน ดังนั้นผู้ซื้อส่วนใหญ่มักจะเลือกซื้อจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) กันเป็นส่วนมาก ถึงแม้จอ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) จะมี ประสิทธิภาพในการใช้งานที่มากกว่า แต่ราคามักจะเป็นสิ่งที่กำหนด และมีผลในการตัดสินใจในการซื้ออยู่มาก
จากที่กล่าวมานั้นก็น่าที่จะทำให้การเลือกซื้อจอภาพแบบแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นสามารถทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งน่าจะทำให้ผู้ที่ต้องการจะเลือกซื้อจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) มาใช้งานนั้นสามารถที่จะเลือกซื้อจอภาพที่เหมาะสมกับตัวผู้ใช้งาน และสามารถที่จะใช้งานได้ถึงประสิทธิภาพสูงสุดของจอภาพ และถึงแม้จอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) ยังมีราคาที่แพงกว่าจอภาพ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) อยู่มากนั้นแต่ประสิทธิภาพ และประโยชน์ที่จะได้รับจากจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นก็มีไม่น้อยถ้าจะตั้งงบในการเลือกซื้อจอภาพ มากขึ้นสักหน่อย ก็เป็นเรื่องที่ดีและสมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะอย่าลืมว่า การใช้งานที่ภาพที่ไม่เมาะสมกับงานที่ทำ หรือการตั้งค่าที่ผิดไป ผลเสียในจะมีต่อผู้ใช้ โดยตรง ซึ่งย่อมเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่าเลยแม้แต่น้อย จึงอยากจะให้ผู้ที่ต้องการจะเลือกซื้อจอภาพมาใช้งานนั้นเลือกซื้อจอภาพที่ดีมีคุณภาพ และเหมาะสมกับผู้ใช้ใหม่ มากที่สุด ซึ่งผลงานที่ได้ออกมานั้นก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดตามมาเหมือนกัน ..

การเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด)

การเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด)

คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เข้ามามีส่วนสำคัญต่อการดำรงชีพของคนทั่วโลก และอาจเรียกได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเลยก็ว่าได้ คอมพิวเตอร์ถือ เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการขนานนามให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกทางเทคโนโลยี เลยทีเดียว อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกชนิดผ่านการสรรค์สร้างจากมันสมองอันชาญ ฉลาดของมนุษย์เพื่อให้ได้มาซึ่ง เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดและที่สำคัญที่สุดคือตอบสนองความต้องการของมนุษย์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สำคัญและถือเป็นตัวกลาง ที่เชื่อมต่อการทำงานกับอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้ภายใน คอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้มาซึ่งการทำงานที่มีประสิทธิภาพของเครื่อง คอมพิวเตอร์นั่นคือ Mainboard (เมนบอร์ด)
Mainboard (เมนบอร์ด) หนึ่งในอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ถือว่าเป็นเหมือนฐานรากหลักของระบบการทำงานภายใน เครื่องคอมพิวเตอร์เพราะมันจะเป็นส่วนที่เชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ทั้งหมดที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยงตรง ไม่ว่าจะเป็นซีพียู หน่วยความจำ ฮาร์ดไดรฟ์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีรอมไดรฟ์ ที่ผ่านทางสายเคเบิลหรือแม้แต่การ์ดแสดงผล และการ์ดเสียงก็ล้วนแล้วแต่ต้องทำงานโดยผ่านทาง Mainboard (เมนบอร์ด) ทั้งสิ้น
Mainboard (เมนบอร์ด) ที่คุณเห็นวางจำหน่ายตามศูนย์การค้าหรือร้านค้าอุปกรณ์ไอทีต่างๆ ถูกนำเข้าโดยบริษัทจัดจำหน่ายทั่วไปที่มีการเซ็นสัญญาแต่งตั้งเป็นตัวแทน จำหน่ายอย่างเป็นทางการ ผลิตภัณฑ์ Mainboard (เมนบอร์ด) ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น Mainboard (เมนบอร์ด) สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซี ในส่วนของ Mainboard (เมนบอร์ด) สำหรับโน้ตบุ๊กและเครื่องเซิร์ฟเวอร์นั้นยังมีให้เห็นกันไม่มากนัก สำหรับ Mainboard (เมนบอร์ด) เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซีนั้นส่วนใหญ่จะแบ่งแยกตามการรองรับโพรเซสเซอร์ที่ มีวางจำหน่ายจากทางค่าย Intel และ AMD โดยแบ่งออกเป็น ซ็อกเก็ต A (462), ซ็อกเก็ต 478, ซ็อกเก็ต 754 และล่าสุดกับแพลตฟอร์มใหม่ที่กำลังได้รับการจับตามองของผู้ใช้งานทุกกลุ่ม และเป็นนิยมกันอยู่ในขณะนี้คงหนีไม่พ้นซ็อกเก็ต 775 และ ซ็อกเก็ต 939 ซึ่งยังคงได้รับการพัฒนาขีดความสามารถอย่างต่อเนื่องภายใต้ผู้ผลิต Mainboard (เมนบอร์ด) ชั้นนำระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นยักใหญ่ระดับหัวแถวแห่งวงการ Mainboard (เมนบอร์ด) ของโลกอาทิ ASUS, GIGBYTE, MSI, DFI, ABIT, ASROCK ฯลฯ
เมื่อเรามองดู Mainboard (เมนบอร์ด) ตามลักษณะทางกายภาพจะพบว่า Mainboard (เมนบอร์ด) มีลักษณะเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่มีชิปเซต ตัวต้านทานต่าง ๆ และอะไรต่ออะไรมากมาย (ฮือ...ไม่รู้ซักกะอย่าง) เอาเป็นว่าองค์ประกอบหลักของ Mainboard (เมนบอร์ด) ทั่วไปนั้นทำงานร่วมกับอุปกรณ์สำคัญดังนี้
โพรเซสเซอร์ (Processor)
หน่วยประมวลผลกลางหรือที่เรียกกันติดปากว่า "ซีพียู" นั่นเอง ถือเป็นสมองของคอมพิวเตอร์เพราะทำหน้าที่ประมวลผลต่างๆ โดยปัจจุบันซีพียูที่ได้รับความนิยมมากในบ้านเราก็คง หนีไม่พ้นค่าย Intel และ AMD โดยซีพียูของ Intel รองรับการทำงานบนแพลตฟอร์ม 775 (Pentium4 Prescott / Extreme Edition / Pentium D / Pentium Extreme Edition / Celeron D Prescott ) และ 478 (Pentium4 / Celeron Northwood) ส่วนทางด้าน AMD จะรองรับการทำงานบนแพลตฟอร์ม 939 (Athlon64 FX / Athlon64 ), 754 (Athlon64 / Sempron) และ 462 หรือ Socket A (AthlonXP / Sempron / Duron) ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ทางเอเอ็มดีจะผลักดันซีพียูที่ทำงานบนแพลตฟอร์ม 462 ให้ไปเป็น 754 ทั้งหมด


หน่วยความจำ (Memory)
Random Access Memory หรือที่เรารู้จักกันนาม Ram ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วยไม่ ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ การนำออกข้อมูล (Output) หรืออธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือเก็บข้อมูลเมื่อเปิดเครื่องและข้อมูลจะหายเมื่อปิดเครื่อง (เข้าใจแล้วใช่ไหม..??) โดยหน่วยความจำหลักที่ใช้รองรับการทำงานของระบบภายในเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่ง ออกเป็น หน่วยความจำแบบ SDRAM , DDR SDRAM , RDRAM และล่าสุดกับหน่วยความจำแบบ DDR2 ซึ่งขนาดความจุที่ใช้รองรับอยู่ระหว่าง 128MB ไปจนถึงความจุที่มากถึงระดับกิกะไบต์(GB) เลยทีเดียว ซึ่งปัจจุบันจะเห็นได้ว่าใน Mainboard (เมนบอร์ด) รุ่นใหม่ ๆ จะสนับสนุนการทำงาน ของหน่วยความจำหลักแบบ Dual Channel ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มค่าแบนวิดท์ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูล เป็นไปอย่างรวดเร็วรวมถึงรองรับขนาดความจุได้มากถึง 8.5 GB เลยทีเดียว

ชิปเซต (Chipset)
ชิปเซตบน Mainboard (เมนบอร์ด) ทำหน้าที่สนับสนุนและบริหารจัดการภายในระบบการทำงานของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ในการทำหน้าที่ทั้งระบบการประมวลผลกลาง หน่วยความจำ การประมวลภาพทางกราฟิก รวมไปถึงภายใต้เทคโนโลยีที่ได้รับการบรรจุมาพร้อมกับตัวชิปเซตและคอนโทรลเลอร์ อาทิ Serial ATA , IEEE1394, USB 2.0, ระบบเสียง, ระบบเครือข่าย ซึ่งทั้งหมดจะถูกบริหารจัดการโดยแบ่งการรองรับออกเป็น 2 ส่วนนั่นคือ นอร์ธบริดจ์ (NorthBridge) และ เซาธ์บริดจ์ (SouthBridge)

AGP และ PCI Express
ตัวประมวลผลภาพผ่านทางจอมอนิเตอร์ที่รองรับการทำงานร่วมกับชิปเซต หน่วยความจำ และ Direct X โดยชิปเซตที่ได้รับความนิยมก็เช่น NVIDIA, Intel, VIA, SiS หรือน้องใหม่อย่าง ATI โดยปัจจุบันการอินเทอร์เฟสกราฟิกการ์ดได้มีการพัฒนาในเรื่องของประสิทธิภาพ ในการประมวลผลรวมไปถึงความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลให้สูงขึ้นจนทำให้เกิด เทคโนโลยีสำหรับกราฟิกที่มีประสิทธิภาพและสมบูรณ์แบบล่าสุดภายใต้ชื่อ PCI ExpressX16 กับคุณสมบัติที่จะทำให้การทำงานด้านกราฟิกเป็นไปอย่างรวดเร็วด้วยอัตราการ ส่งถ่ายข้อมูลที่สูงถึง 4GBps นอกจากนั้นประสิทธิภาพของเทคโนโลยี PCI Express ยังได้รับการสนับสนุนความสามารถในการประมวลผลภาพไปอีกขั้นกับเทคโนโลยี SLI เทคโนโลยีที่นำเอากราฟิกการ์ด 2 ตัว ทำงานบนช่องสัญญาณ PCI-Express 16X ที่เชื่อมต่อด้วยคอนเน็กเตอร์ SLI Bridge มาทำการประมวลผลภาพ โดยจะได้ประสิทธิภาพในการประมวลผลภาพและการเรนเดอร์ภาพเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ในการทำงานบนในส่วน PCI ก็กำลังจะถูกแทนที่ด้วย PCI Express ด้วยประสิทธิภาพในเรื่องของความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล รวมไปถึงการทำงานที่แยกความเป็นอิสระต่อกันทำให้สามารถทำงานบนค่าแบนวิดท์ใน ระดับสูงได้พร้อมกัน

ระบบเสียง (Sound Onboard)
ระบบเสียงอาจจะไม่สำคัญเท่าอุปกรณ์อื่น ๆ แต่คุณไม่ควรมองข้ามเพราะอย่างน้อยสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อการ์ดเสียง ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ปัจจุบัน คุณภาพของระบบเสียงที่มาพร้อมกับ Mainboard (เมนบอร์ด) นั้นได้ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นเห็นได้จาก บาง Mainboard (เมนบอร์ด) มีการนำเทคโนโลยี DOLBY SURROUND ซึ่งเป็นเทคโนโลยีคุณภาพเสียงโดยเฉพาะ ร่วมกับการทำงานกับลำโพงแบบหลายทิศทาง ซึ่งปัจจุบันรองรับอยู่ที่ 8 ทิศทาง และเพิ่มอรรถรสในการฟังเพลง และรับชมภาพยนตร์ผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างสมบูรณ์แบบและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ใน Mainboard (เมนบอร์ด) ระดับสูงยังสนับสนุนช่องสัญญาณเสียงแบบดิจิตอล ผ่านช่องสัญญาณ S/PDIF แบบ Optical และ Coaxail

ระบบเครือข่าย (LAN)
ถือว่ามีความสำคัญสำหรับผู้ใช้งานที่ทำงานภายใต้รูปแบบขององค์กร ซึ่งต้องทำการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายกลางรวมไปถึงโอน-ถ่ายข้อมูลภายใน องค์กร ซึ่ง Mainboard (เมนบอร์ด) ที่มีวางจำหน่ายอยู่ในขณะนี้เกือบทุกรุ่นจะรองรับช่องสัญญาณในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายด้วยมาตรฐานความเร็วที่ 10/100 Mbps รวมไปถึงใน Mainboard (เมนบอร์ด) ประสิทธิภาพสูงจะรองรับความเร็วระดับกิกะบิต 1,000 Gbps ซึ่งอาจจะมาในแบบคู่ และการเชื่อต่อเครือข่ายแบบไร้สาย (Wiless LAN)

คอนเน็กเตอร์และพอร์ต (Connector & Port)
เป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ Mainboard (เมนบอร์ด) ทุกตัวจะต้องมีไว้รองรับการทำงาน โดยอาจจะแตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีที่ผู้ผลิตนำมาให้ไว้ในแต่ละรุ่น คอนเน็กเตอร์และพอร์ตต่าง ๆ ถูกจำแนกออกเป็น 2 ส่วนนั่นก็คือ Internal ซึ่งเป็นพอร์ตรองรับที่ต้องเชื่อมต่อภายในตัว Mainboard (เมนบอร์ด) อาทิ USB, และ Back Panel ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกซึ่งประกอบไปด้วยพอร์ต PS/2, USB, Parallel, Serial Port, Audio, LAN มีไว้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่รองรับช่องสัญญาณดังกล่าวไม่ว่าจะเป็น เมาส์ คีย์บอร์ด ลำโพง พรินเตอร์ ฯลฯ หรือใน Mainboard (เมนบอร์ด) บางรุ่นจะเพิ่มช่องสัญญาณ VGA เมื่อ Mainboard (เมนบอร์ด) สนับสนุนการประมวลผลภาพในตัว รวมไปถึงใน Mainboard (เมนบอร์ด) ประสิทธิภาพสูงจะมาพร้อมกับช่องสัญญาณ S/PDIF และ IEEE 1394

Mainboard (เมนบอร์ด) ที่ทางผู้ผลิตได้พัฒนาขีดความสามารถขึ้นมาในแต่ละรุ่นนั้นมีการนำเทคโนโลยีที่มีส่วนสำคัญในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับ Mainboard (เมนบอร์ด) พร้อมทั้งลดข้อบกพร่องต่าง ๆ ในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ประเภทอื่น ๆ อาทิเช่น

เทคโนโลยี Hyper Threading
Hyper Threading (HT) หนึ่งในเทคโนโลยีของทาง Intel เป็นเทคโนโลยีที่เพิ่มสมรรถนะให้กับผู้ใช้งาน โดยที่ซอฟต์แวร์จะมองเห็นโพรเซสเซอร์เพนเทียมโฟร์หนึ่งตัว เป็นโพรเซสเซอร์สองตัว โดยอาศัยช่วงสัญญาณนาฬิกาที่เคยว่าอยู่มาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ เทคโนโลยี Hyper Threading ทำให้โพรเซสเซอร์ดังกล่าว สามารถทำงานที่แบ่งออกเป็นสองงานพร้อมกันได้ แทนที่จะทำงานได้เพียงทีละงาน ซึ่งจากมุมมองของตัวซอฟต์แวร์ สิ่งนี้หมายถึงระบบปฏิบัติการและโปรแกรม ของผู้ใช้ จะสามารถจัดลำดับการประมวลโพรเซสเซอร์ หรืองานบนโพรเซสเซอร์ได้ เสมือนกระทำบนระบบมัลติโพรเซสเซอร์ของจริง ประโยชน์จากเทคโนโลยี Hyper Threading ที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง คือเมื่อโพรเซสเซอร์ตัวหนึ่งเกิดการหยุดชะงัก โพรเซสเซอร์อีกตัวที่เหลือจะยังทำงานต่อไปได้

เทคโนโลยี Hyper Transport
เทคโนโลยีอัจฉริยะของทาง AMD ในการจัดสรรการเชื่อมต่อข้อมูลในระบบการทำงานหลักความเร็วสูงของเครื่อง คอมพิวเตอร์เดสก์ทอปและเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งส่งผลทำให้การประมวลผลและเข้าถึงข้อมูล ผ่านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เป็นไปได้รวดเร็วกว่าเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน พร้อมทั้งช่วยเพิ่มค่า Band width ให้สูงขึ้นส่งผลให้สามารถลดปัญหาการเกิดคอขวดในการส่งถ่ายข้อมูล อีกทั้งยังใช้งานหน่วยความจำของระบบได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและมากขึ้นด้วย

เทคโนโลยี Serial ATA
หนึ่งในเทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลผ่านสายเคเบิล ATA สำหรับลำเลียงข้อมูลขนาดกว้าง 2 นิ้ว ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณนั้น เมื่อความเร็วในการส่ง ผ่านข้อมูลปัจจุบันในรูปแบบของ IDE สูงสุดอยู่ที่ 133 MBต่อวินาที ด้วยเหตุนี้ จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลเชื่อมต่อ (อินเทอร์เฟซ) แบบใหม่ คือ Serial ATA ซึ่งเทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาโดยบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการอินเทอร์เฟซแบบ Serial ATA ที่มีความเร็วในการลำเลียงข้อมูลที่ระดับ 150 MBps และ ปัจจุบันไดรับการพัฒนาความเร็วมาอยู่ที่ 300MBps ภายใต้รหัส Serail ATA 2 และในอนาคตอันใกล้นี้กำลังจะถูกพัฒนาในเรื่องของความเร็วเพิ่มขึ้นไปเป็น 600 MBps ด้วย เทคโนโลยี Serial ATA นี้ไม่ได้ถูกพัฒนามาเพื่อการรองรับกับฮาร์ดดิสก์เท่านั้น แต่รวมไปถึงอุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่น ๆ อย่าง Optical Drive ต่าง ๆ ทั้ง CD-ROM และ DVD-ROM อีกด้วย ซึ่งด้วยการพัฒนาของ Serial ATA นี้เอง ที่จะทำให้ลดปัญหาคอขวดที่เกิดขึ้นระหว่างการส่งผ่านของโพรเซสเซอร์ความเร็ว สูง กับตัวฮาร์ดดิสก์ ให้รื่นไหล ด้วยความเร็วที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเหตุนั้น Serial ATA จึงกลายเป็นความหวังใหม่ ในการเพิ่มความเร็วในการ ถ่ายโอนข้อมูลของฮาร์ดไดรฟ์ในอนาคต

เทคโนโลยี IEEE 1394
เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์เกี่ยวกับด้านมัลติมีเดียกับเครื่องพีซี ที่มีอัตราความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลมัลติมีเดียความเร็วสูงที่ 400 เมกะบิต (Mbps)และปัจจุบันได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงขึ้นด้วยอัตราความเร็วอยู่ที่ 800 เมกะบิต (Mbps) ที่ห้อยท้ายมากับรหัส "b" (IEEE 1394b) โดยการทำงานของ เทคโนโลยีนี้ในการส่งผ่านข้อมูลจะแตกต่างไปจากระบบการเชื่อมต่อแบบเดิม อย่างเช่น เครื่องเสียงที่ใช้ในบ้าน สายสัญญาณเสียง จะเป็นสายเฉพาะสำหรับเสียง เท่านั้น และเมื่อมีระบบภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง สายสัญญาณและจุดต่อเชื่อมจะแยกออกจากกันอย่างชัดเจนแต่ในส่วนระบบดิจิตอล สัญญาณทุกรูปแบบถูกเปลี่ยนไปเป็นข้อมูลแล้ว การต่อเชื่อมของอุปกรณ์เหล่าจะ สามารถใช้สายสัญญาณเส้นเดียวที่ทำหน้าที่ในการรับ-ส่งสัญญาณที่เป็นข้อมูล และการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ ไปพร้อมกันอีกด้วย ทิศทางของ IEEE-1394 คงไม่ใช่แค่การต่อเชื่อมกับกล้องวีดิโอเท่านั้น แต่มันหมายถึงรูปแบบของระบบเครือข่ายข้อมูลของอุปกรณ์สื่อบันเทิง ทั้งหลายที่มีใช้ในบ้าน ที่กำลังถูกจัดให้เข้าสู่มาตรฐานนี้ ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลคอมพิวเตอร์ วีดีทัศน์ เสียง โทรศัพท์ โทรสาร และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ทั้งหลาย กำลังจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ง่ายขึ้น และจากความสามารถในการเชื่อมต่อเข้าหากันโดยไม่ต้องปิดเครื่อง จะทำให้ผู้ใช้ ลดความกังวลว่าเครื่องจะเสีย หรือกลัวไฟฟ้าลัดวงจรและความยุ่งยาก สิ่งเหล่านี้จะหายไป และอุปกรณ์ที่ซับซ้อนเหล่านี้ ก็จะอยู่ใกล้ชิดกับผู้ใช้งานคนมากขึ้น ...

เทคโนโลยี USB 2.0
เมื่อพูดถึง Universal Serial Bus หลายคนคงไม่ค่อยคุ้นนักกับคำนี้แต่ถ้าเป็น USB หลายคนต้องร้องอ๋อ...กันเลย เทคโนโลยี USB เป็นพอร์ตที่มากับ Mainboard (เมนบอร์ด) เพื่อสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆเข้ากับเครื่องพีซีของคุณ โดยพอร์ต USB 2.0 มีอัตราของการรับ-ส่งข้อมูลที่ 480 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งมากกว่า USB เวอร์ชัน 1.1 ที่ให้อัตราส่งข้อมูลเพียง 12 เมกะบิตต่อวินาที ถึง 40 เท่าเลยครับ และด้วยแบนด์วิดท์ขนาดนี้ จึงเพียงพอสำหรับการเล่นวิดีโอที่ยังไม่บีบขนาดที่อัตรา 30 เฟรมต่อวินาทีได้เลยทีเดียว เทคโนโลยี USB 2.0 ยังเพิ่มความพอใจของคุณมากยิ่งขึ้นด้วยการใช้งานที่ง่าย และคุณสมบัติที่โดดเด่นนั่นก็ คือเมื่อเสียบแล้ว สามารถทำงานได้ทันที อีกทั้งรองรับการทำงานของ USB 1.1 อีกด้วย ซึ่ง USB 2.0 เหมาะสำหรับใช้กับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ อันรวมไปถึงอุปกรณ์สำหรับเก็บ ข้อมูลชนิดที่ต่อภายนอกอย่าง กล้องถ่ายรูปดิจิตอล กล้องวิดีโอ พรินเตอร์ เมาส์ คีย์บอร์ด หรือแม้แต่อุปกรณ์เครือข่ายด้านเน็ตเวิร์ค ปัจจุบันเทคโนโลยี USB 2.0 บน Mainboard (เมนบอร์ด) สามารถรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้มากถึง 10 พอร์ตเลยทีเดียว

เทคโนโลยี RAID (Redundant Array of Independent Disks)
คำว่า RAID หรือ Redundant Array of Inexpensive Disks หรือการนำเอาฮาร์ดดิสก์หลายๆ ตัวมาเชื่อต่อกันผ่านตัวController เพื่อจุดประสงค์ ในการเพิ่มความจุ หรือความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูล โดยทั่วไปแล้วเทคโนโลยี RAID มีให้เห็นตั้งแต่ RAID 0, RAID 1 ไปจนถึง RAID 53 กันเลยทีเดียว แต่ใน Mainboard (เมนบอร์ด) ทั่วไปส่วนใหญ่สามารถแบ่งการทำงานออกเป็นสองระดับ ได้แก่ RAID 0, 1 และ RAID 0+1 โดย RAID 0 จะเป็นการแตกข้อมูลออกเป็นบล็อก ๆ และ เขียนลงฮาร์ดไดรฟ์กระจายไปทั้งสองไดรฟ์ (Striping) ซึ่งจะไปช่วยเร่งความเร็วในการเข้าถึงฮาร์ดไดรฟ์และส่งผ่านไฟล์ นอกเหนือไปจากการเร่งกระบวนการเปิด ไฟล์และแอพพลิเคชั่น ส่วนของทาง RAID 1 จะทำการป้องกันการสูญหาย ของข้อมูลโดยการเก็บสำเนาบนฮาร์ดไดรฟ์ทั้งสองตัว (Mirroring) ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ น่าเชื่อถือมากสำหรับการเก็บข้อมูลและแอพพลิเคชั่นที่มีความสำคัญและเนื่อง จากเทคโนโลยี RAID มีโอเวอร์เฮดที่น้อยกว่าเทคโนโลยีเชื่อมต่อดิสก์ ATA แบบขนาน จึงทำให้ Serial ATA (S-ATA) สามารถอ่านไฟล์จากดิสก์ที่แคชในโหมด Burst เร็วขึ้นกว่า ATA 100 ซึ่งส่งผลให้การเข้าถึงข้อมูลของแคชได้เร็วขึ้น ในส่วน ของแอพพลิเคชันเชิงธุรกิจได้รับสมรรถนะของระบบที่ดีขึ้นพร้อมทั้งสแกนไวรัส ได้อย่างต่อเนื่องและสามารถแก้ไขและเรียกดู พรีเซนเทชันหลาย ๆ ชุด พร้อมกันได้ อีกทั้งระบบแชร์ไฟล์ที่มีสมรรถนะในการทำงานที่ดีขึ้น ตลอดจนสามารถอัพโหลดหรือดาวน์โหลดภาพดิจิตอลพร้อมกันได้อย่างรวดเร็วยิ่ง ขึ้นอีกด้วย และด้วยความสามารถของชิปเซตตัวใหม่ ๆ ที่สนับสนุนการทำงานอยู่บน Mainboard (เมนบอร์ด) ได้บรรจุความสามารถในการทำงานแบบ RAID ในโหมด 5, 6 และ 10 เพิ่มเติมเข้ามา

เทคโนโลยี BIOS (Basic input output System)
BIOS เป็นส่วนสำคัญสำหรับ Mainboard (เมนบอร์ด) มากทีเดียวโดยเราสามารถปรับแต่งการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามระบบที่ผู้ใช้งานต้องการในเรื่องต่าง ๆ อาทิ การปรับการใช้งานของเทคโนโลยีหรือฟังก์ชันต่าง ๆ การเปิดระบบการทำงานของช่องสัญญาณ การปรับมาตรฐานของปฏิทินและเวลา ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นปรับตั้งค่าการทำงานของ AGP ให้เป็นแบบ 4X/8X การปรับค่าการบูทเครื่อง ปรับรวมถึงการโอเวอร์คล็อก(overclock) ซีพียูและหน่วยความจำ แต่ปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยปรับแต่งค่าต่าง ๆ ที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลงใน BIOS บนระบบปฏิบัติการ ได้เลยโดยไม่ต้องทำการ Restart ก่อนจะเข้าไปแก้ไขในส่วนของ BIOS เทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาโดยบริษัทผู้ผลิต Mainboard (เมนบอร์ด) ชั้นนำไม่ว่าจะเป็น ASUS และ ABIT ได้พัฒนาเทคโนโลยีชนิด นี้ที่ใช้ชื่อว่า EZ BIOS FLASH และ FLASH MENU เป็นต้น โดย BIOS ที่ได้รับความไว้ใจจากผู้ผลิต Mainboard (เมนบอร์ด) ชั้นนำอาทิ Award, AMI และ Phonix

เทคโนโลยีในด้านอื่น ๆ
นอกจากเทคโนโลยีที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วยังมีเทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับ Mainboard (เมนบอร์ด) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเทคโนโลยีที่ผู้ผลิต Mainboard (เมนบอร์ด) แต่ละแบรนด์เนมพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับประสิทธิภาพการทำงานของผลิตภัณฑ์ในแต่ละรุ่นของตนเองเป็นหลัก อาทิเช่น เทคโนโลยี C.P.R. (CPU Parameter Recall) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในกรณีที่คุณทำการ โอเวอร์คล็อก แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์เกิดการแฮงก์ขึ้มาเมื่อทำการรีสตาร์ท BIOS จะทำการ เคลียร์ค่าต่างที่ถูกปรับแต่งขึ้นให้มาอยู่ในลักษณะเดิม หรือว่าเทคโนโลยีการปรับเปลี่ยนภาษาในปรับค่าการใช้งานต่าง ๆ ภายในส่วนของ BIOS และทั้งหมดนี้เป็น เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของ Mainboard (เมนบอร์ด) กับอุปกรณ์อื่น ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ

การรับประกัน
Mainboard (เมนบอร์ด) ถือว่าเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องของการใช้งานแต่อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่า Mainboard (เมนบอร์ด) เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์ทุกชนิด บนเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อ Mainboard (เมนบอร์ด) เกิดการเสียหายขึ้นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อก็หยุดการทำงานไปด้วย ดังนั้นเมื่อมีการติดตั้งอุปกรณ์อื่นเข้ากับ Mainboard (เมนบอร์ด) ควรให้ความ ระมัดระวังกันสักนิด สาเหตุเหตุหลักของการทำให้ Mainboard (เมนบอร์ด) เสียหายนั้นเกิดขึ้นได้หลายกรณีแต่ที่เห็นกันบ่อยมากนั้นคงหน ีไม่พ้นการที่ผู้ใช้ทำการดัดแปลงการ ทำงานของ Mainboard (เมนบอร์ด) ในส่วนต่าง ๆและการ โอเวอร์คล็อก จนทำให้ Mainboard (เมนบอร์ด) เสียหายเมื่อเกิดเหตุการณ์ในกรณีเช่นนี้แล้วทางผู้ผลิตถือ ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจาก ผู้บริโภคไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากขั้นตอนการผลิต รับรองรองได้ว่ากระปุกออมสินของคุณต้องถูกทุบเพื่อนำมาซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) ตัวใหม่แน่นอน การรับประกัน Mainboard (เมนบอร์ด) ส่วนใหญ่จะรับประกันผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 3 ปีเท่านั้นครับ

การเลือกซื้อ
ปัจจัยการเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) นั้น ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการเลือกใช้อุปกรณ์ที่คุณต้องการนำมาใช้งานเป็นหลักโดยส่วนที่สำคัญมากในการ เลือก Mainboard (เมนบอร์ด) นั่นก็คือ ซีพียูนั่นเองครับ ยกตัวอย่างถ้าคุณต้องการใช้งานซีพียูของทางค่าย AMD ไม่ว่าจะเป็น Athlon XPหรือ Duron ก็ตามคุณก็ต้องเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) ที่รองรับการ ทำงานของซีพียูที่เป็นแบบ Socket A หลังจากนั้นก็เป็นในส่วนของหน่วยความจำว่าจะเลือกใช้แบบไหน DDR-SDRAMหรือ SDRAM ( DDR SDRAM เพื่ออนาคตที่สดใสกว่า)หรืออาจจะใช้ทั้ง DDR-SDRAM และ SDRAM ก็ได้คุณก็ต้องเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) ที่สนับสนุนการทำงานกับหน่วยความแบบดังกล่าว เป็นต้น ใน Mainboard (เมนบอร์ด) บางรุ่นจะนำระบบเสียงหรือระบบประมวลผลภาพ(VGA)ไว้ในตัว ดังนั้น คุณอาจไม่จำเป็นต้องเลือกซื้ออุปกรณ์ทั้งสองประเภทนี้ ในขณะที่ Mainboard (เมนบอร์ด) บางรุ่นก็จะรวมเอา LAN (local area network) ไว้ในตัวด้วย ทำให้คุณไม่ต้องเสียเงินซื้อการ์ดเน็ตเวิร์กสำหรับใช้ท่องโลกอินเทอร์เน็ต (เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีงบซื้อจำกัด) แต่ถ้าใน Mainboard (เมนบอร์ด) ที่คุณเลือกซื้อไม่มีอุปกรณ์ดังที่กล่าวในตัว คุณก็จำต้องจ่ายเงินเพิ่ม เพื่อซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เหล่านั้นทีหลัง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ ราคาแล้วบางทีก็แพงกว่าการซื้อแบบรวมเสียอีกแต่ประสิทธิภาพจะไม่ดีเท่ากับอุปกรณ์ที่แยกชิ้นประกอบอย่างไรก็ตามเมื่อจะ ซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) ให้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ ของคุณแล้วก็ต้องดูให้ระเอียดกันหน่อย อย่านิยมเลือกเอาแต่ประหยัดอย่างเดียว การใช้งานคอมพิวเตอร์สำคัญที่สุด

ถึงแม้ Mainboard (เมนบอร์ด) จะเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สำคัญ แต่ราคาของ Mainboard (เมนบอร์ด) นั้นไม่ได้มีราคาแพงมากมายนักรวมถึงยังมีให้เลือกใช้มากมายหลายรุ่นตามความเหมาะสมของผู้ใช้ โดย Mainboard (เมนบอร์ด) ราคาประหยัดเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณพันกว่าบาท และไต่ระดับไปถึงช่วงราคาสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานระดับกลางที่ 3,000-5,000 บาท หลังจากนั้นถือเป็นราคาสำหรับผู้ใช้งานระดับสูงที่ราคาสูงทะลุหมื่นบาทไปเลยทีเดียว โดยบริษัทผู้ผลิต Mainboard (เมนบอร์ด) ที่ได้รับความนิยม หรือพูดง่ายๆ ก็คือแบรนด์เนมของ Mainboard (เมนบอร์ด) ติดตลาดผู้ซื้อ ก็เห็นจะมี ASUS, ABIT, GIGABYTE , MSI, ASROCK
คุณสมบัติที่สำคัญของ Mainboard (เมนบอร์ด) ในปัจจุบันที่ต้องพิจารณาก่อนทำการเลือกซื้อนั้นนอกเหนือจากราคาที่ผู้ใช้ต้องเป็นผู้กำหนด อาทิ ความยืดหยุ่นในการรองรับการทำงานของระบบฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีที่สนับสนุนการทำงาน ช่องสัญญาณในการรองรับการใช้งาน อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ ที่มาพร้อมกับตัว Mainboard (เมนบอร์ด) ทางที่ดีควรจะมีเอาไว้ก่อน และที่สำคัญนั้นก็คือการรับประกันที่คุณมิควรมองข้ามนั่นเอง

การเลือกซื้อ Hard Disk ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (Hard Disk Drive)

การเลือกซื้อ Hard Disk ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (Hard Disk Drive)

Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) : ส่วนประกอบสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ ที่ถูกขนาดนามว่าเป็นคลังหรือแล่งจัดเก็บข้อมูลของระบบกระทั่งปัจจุบันเริ่มมีการดัดแปลงไปสู่ อุสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค (Consumer Electronics : CE) มากขึ้น ด้วยความโดดเด่นในเรื่องการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ บนปริมาณพื้นที่อันอลังการมากขึ้นทุกวัน ทำให้อุตสาหกรรม Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไดรฟ์ไม่ได้หยุดอยู่กับที่บนตลาดคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป
สำหรับ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ถูกจัดเป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญไม่น้อยของระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัปเกรด เพราะสเป็คที่ผู้บริโภคดูส่วนใหญ่เน้นเพียงไม่กี่ตัวอาทิ ความจุ ความเร็วรอบ ขนาดหน่วยความจำแคช ซึ่งมันอาจเป็นคำตอบที่ไม่ถูกต้องนักต่อการเลือกซื้อ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ในปัจจุบันและอนาคต เพราะเทคโนโลยี Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานับว่าพัฒนาได้รวดเร็วเอามากๆ ฉะนั้นการเลือกซื้อควรมองให้กว้างขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพการทำงานที่ท่านจะได้รับจาก Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไปเต็มๆ
ส่วนประกอบของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์)
Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) จะประกอบไปด้วย จานแม่เหล็กหรือจานดิสก์ (Platter) ซึ่งออกแบบมาสำหรับบันทึกข้อมูลโดยขึ้นอยู่กับสถาปัตยกรรมในการออกแบบด้วย ว่าได้มีการ กำหนดให้มีขนาดความจุต่อแผ่นเท่าใด และใน Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แต่ละรุ่นจำต้องใช้จำนวนแผ่นเท่าใด ซึ่งจานแม่เหล็กมีลักษณะเป็นทรงกลมและมีมอเตอร์สำหรับควบคุมการหมุนของจาน ดิสก์ (Spindle)โดยอัตราความเร็วในการหมุน ณ วันนี้ถูกจัดหมวดออกเป็น 5400,7200 และ 10,000 รอบต่อนาที(rpm) ซึ่งถ้าจำนวนรอบในการหมุนของจาน ดิสก์มีระดับความถี่ที่สูง ก็จะส่งผลให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้นตามไปด้วย
ในส่วนของลักษณะการอ่านเขียนข้อมูลภายในไดรฟ์นั้น จะมีสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยนั้นก็คือหัวอ่านเขียน (Read/Write Head) โดยหัวอ่านเขียนจะมี จำนวนเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนจานดิสก์ด้วย สำหรับหัวอ่านเขียนข้อมูลนั้นเป็นอุปกรณ์ที่จะเคลื่อนที่ไปบนจานดิสก์ โดยจะเว้นระยะห่างระหว่าง หัวอ่านเขียนกับจานดิสก์อย่างคงที่ ซึ่งหาก Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ได้รับการกระทบกระเทือนจนระยะห่างระหว่างหัวอ่านเขียนกับจานดิสก์ผิดเพี้ยนไป จะทำให้ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไม่ สามารถทำงานได้เลย แตปัจจุบัน Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) รุ่นใหม่ๆจึงได้มีการออกแบบจุดพักหัวอ่านเขียนไว้ด้านข้างเพื่อกันการทระแทกบนจานดิสก์ นอกจากนี้ ด้านหลังของตัวไดรฟ์ยังประกอบไปด้วย อินเทอร์เฟซ (Interface) ซึ่งเป็นช่องสำหรับเชื่อมต่อกับส่ายสัญญาณประเภทต่างๆ แบ่งได้ตาม ชนิดของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) เช่น Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบติดตั้งภายในมีอินเทอร์เฟซ IDE, SCSI และ Serial ATA และ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบติดตั้งภายนอกมักมีอินเทอร์เฟซแบบ USB และ Firewire ซึ่งทั้งสองแบบนั้นจำต้องมีช่องสำหรับต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟเพื่ออาศัย พลังงานในการหล่อเลี้ยอยู่เสมอด้วย
ชนิดของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบ่งตามการเชื่อมต่อ (อินเทอร์เฟซ)
1. แบบ IDE (Integrate Drive Electronics)
Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบ IDE เป็นอินเทอร์เฟซรุ่นเก่า ที่มีการเชื่อมต่อโดยใช้สายแพขนาด 40 เส้น โดยสายแพ 1 เส้นสามารถที่จะต่อ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ได้ 2 ตัว บนเมนบอร์ดนั้นจะมีขั้วต่อ IDE อยู่ 2 ขั้วด้วยกัน ทำให้สามารถพ่วงต่อ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ได้สูงสุด 4 ตัว มีความเร็วสูงสุดในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 8.3 เมกะไบต์/ วินาที สำหรับขนาดความจุก็ยังน้อยอีกด้วย เพียงแค่ 504MB เท่านั้นเอง
2. แบบ E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics)
Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบ E-IDE พัฒนามาจากประเภท IDE ด้วยสายแพขนาด 80 เส้น ผ่านคอนเน็คเตอร์ 40 ขาเช่นเดียวกันกับ IDE ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพ ในการทำงานให้มากขึ้น โดย Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ที่ทำงานแบบ E-IDE นั้นจะมีขนาดความจุที่สูงกว่า 504MB และความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงขึ้น โดยสูงถึง 133 เมกะไบต์ต่อวินาทีเลยทีเดียว


วิธีการรับส่งข้อมูลของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบ E-IDE ยังแบ่งออกเป็นหลาย ๆ แบบ ทั้งPIO และ DMA

โหมด PIO (Programmed Input Output) เป็นการรับส่งข้อมูลโดยผ่านการประมวลผลของซีพียู คือรับข้อมูลจาก Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) เข้ามายังซีพียู หรือส่งข้อมูลจากซีพียูไปยัง ฮาร์ดดิสก เห็นได้ชัดเลยว่าการทำงานนั้นมีความเกี่ยวข้องกับซีพียู ดังนั้นจึงไม่เหมาะในลักษณะงานที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลใน Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) บ่อยครั้งหรือการทำงานหลายๆ งานพร้อมกันในเวลาเดียวที่เรียกว่า Multitasking environment ซึ่งการที่ต้องเข้าถึงข้อมูลใน Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) บ่อยครั้ง จะทำให้ความสามารถในการทำงานโดยรวมของระบบต่ำลง
โหมด DMA  (Direct Memory Access) จะอนุญาตให้อุปกรณ์ต่างๆ ส่งผ่านข้อมูลหรือติดต่อไปยังหน่วยความจำหลัก (RAM) ได้โดยตรงโดยไม่ต้องติดต่อไปที่ซีพียูก่อนเหมือนกระบวนการทำงานปกติ ประโยชน์ของการใช้ DMA ก็น่าจะเห็นได้ชัดเจน เพราะเมื่อซีพียูสามารถมุ่งมั่นกับงานของตนเองให้เสร็จโดยไม่ต้องพะวงว่าจะ ถูกสะกิดรบกวนจาก Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ให้ช่วยทำงาน ก็สามารถทำให้ซีพียูจัดการงานได้รวดเร็วขึ้น ส่งผลให้ระบบโดยรวมมีความเร็วสูงขึ้นตามไปด้วย
3. แบบ SCSI (Small Computer System Interface)
Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบ SCSI (สะกัสซี่) เป็น Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ที่มีอินเทอร์เฟซที่แตกต่างจาก E-IDE โดย Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบ SCSI จะมีการ์ดสำหรับควบคุมการทำงาน โดยเฉพาะ ซึ่งเรียกว่า การ์ด SCSI สำหรับความสามารถของการ์ด SCSI นี้ สามารถที่จะควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่มีการทำงานแบบ SCSI ได้ถึง 7 ชิ้นอุปกรณ์ด้วยกัน ผ่านสายแพรแบบ SCSI อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบ SCSI จะมีความเร็วสูงสุดถึง 320 เมกะไบต์/วินาที รวมถึงกำลังรอบในการหมุนของจานดิสก์อย่างต่ำก็หลักหมื่นโดยปัจจุบันแบ่งเป็น 10,000 และ 15,000 รอบต่อนาที ซึ่งมีความเร็วที่มากกว่าประเภท E-IDE อยู่เยอะ ส่งผลให้ราคานั้นย่อมที่จะแพงเป็นธรรมดา โดยส่วนใหญ่จะนำ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบ SCSI มาใช้กับงานด้านเครือข่าย (Server) เท่านั้น
4. แบบ Serial ATA
       เป็นอินเทอร์เฟซที่กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน และอีกไม่นานจะพลัดใบเข้าสู่ความเป็น Serial ATA II ซึ่งเมื่อการเชื่อมต่อในลักษณะParallel ATA หรือ E-IDE เริ่มเจอทางตันในเรื่องของความเร็วที่พัฒนาอย่างไรก็ไม่ทัน SCSI ซะที และอีกสาเหตุมาจากสายแพแบบ Parallel ATA เพื่อการส่งผ่านข้อมูลนั้นมีขนาดความกว้างถึง 2 นิ้ว และเป็นที่คุ้นเคยสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่ตอนนี้อินเทอร์เฟซแบบ Parallel ATA ก็เริ่มเจอทางตันแล้วเหมือนกัน เมื่ออัตราความเร็วในปัจจุบันทำได้สูงสุดเพียงระดับ 133 เมกะไบต์ต่อวินาทีเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ส่งผลให้บรรดาผู้ผลิต Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ต่างพากันหันมาให้ความสนใจเทคโนโลยีต่อเชื่อมรูปแบบแบบใหม่ที่เรียกว่า Serial ATA กันเป็นแถว โดยให้อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลขั้นแรกสูงสุดถึง 150 เมกะไบต์ต่อวินาที โดยเทคโนโลยี Serial ATA นี้ถูกพัฒนาขึ้นโดยกลุ่มผู้พัฒนา Serial ATA ซึ่งได้เผยข้อกำหนดคุณสมบัติสำหรับ Serial ATA 1.0 ขึ้น ด้วยคาดหวังว่าจะสามารถ ขยายช่องสัญญาณ (Bandwidth) ในการส่งผ่านข้อมูลได้เพิ่มขึ้นถึง 2-3 เท่า และยังรองรับข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น ไม่เฉพาะ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) เพียงเท่านั้นที่จะมีการเชื่อมต่อในรูปแบบนี้ แต่ยังรวมไปถึง อุปกรณ์ตัวอื่นๆ อย่าง CD-RW หรือ DVD อีกด้วย
        และด้วยการพัฒนาของ Serial ATA นี้เอง ที่จะทำให้ลดปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง CPU ความเร็วสูงกับตัว Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ลงได้ โดยสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องด้วยความเร็วของระบบที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ Serial ATA จึงกลายเป็นความหวังใหม่ สำหรับการเพิ่มความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของฮาร์ดไดรฟ์ (Hard Drive) ในอนาคต นอกจากนี้ Serial ATA ยังแตกต่างจากฮาร์ดไดรฟ์ที่ใช้อินเทอร์เฟซ Parallel ATA ซึ่งเป็นแบบขนานอย่างชัดเจน เพราะอินเทอร์เฟซ Serial ATA นี้ มีการกำหนดให้ฮาร์ดไดรฟ์ตัวไหนเป็น Master (ตัวหลัก) หรือ Slave (ตัวรอง) ผ่านช่องเชื่อมต่อบนเมนบอร์ดได้เลย ลดความยุ่งยากในการติดตั้งลงไปได้มาก อีกทั้ง Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ประเภทนี้บางตัวยังรองรับการถอดสับเปลี่ยนโดยทันที (Hot Swap) ทำให้การเชื่อมต่อในลักษณะนี้กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน


ทำไมจึงต้อง Serial ATA
       ประสิทธิภาพของการถ่ายโอนข้อมูลส่วนหนึ่งมาจากอินเทอร์เฟซที่บ่งบอกจุดต่างของค่าความเร็วได้ดี ตั้งแต่ USB, Parallel ATA, Serial ATA และ SCSI ด้วยสมรรถภาพความเร็วที่แกร่งขึ้นตามลำดับ ซึ่งการใช้งาน Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) บนพีซีหรือเครื่องเวิร์คสเตชั่นมักมองอินเทอร์เฟซ Parallel ATA และ Serial ATA เป็นสำคัญ แต่ ณ ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงกำลังจะเกิดขึ้นเมื่อ Parallel ATA จะถูกแทนที่ด้วย Serial ATA ด้วยเหตุผลที่เป็นปัญหาคอขวดอยู่นั้นก็คือมาตรฐานความเร็วของการถ่ายโอน ข้อมูลบนคอนโทรลเลอร์ขนาด 40 พิน แม้จะสามารถทำเส้นทางรับ-ส่งเป็น 80 เส้นความเร็วก็ทำได้ไม่เกิน 133 เมกะไบต์ต่อวินาที ขณะที่ Serial ATA ที่มากับขนาดของสายรับ-ส่งสัญญาณที่น้อยนิดเพียง 7 พิน พร้อมอัตราเร็วขั้นต้นของ Serial ATA ในเฟซแรกที่ 1.5 กิกะบิตต่อวินาที และสิ่งที่จะมาบดบังรัศมีของ Parallel ATA อย่างเต็มตัวก็คืออีกศักยภาพของ Serial ATA ด้วย Serial ATA II กับมาตรฐานความเร็ว 3.0 กิกะบิตต่อวินาที ซึ่งแรงขึ้นอีกเท่าตัว โดยก่อนหน้าที่จะกำเนิด Serial ATA II แบบเต็มตัวนั้นสิ่งที่มาก่อนก็คือการรองรับเทคโนโลยี Native Command Queuing หรือ NCQ ที่มีเฉพาะ Serial ATA เท่านั้น สิ่งหนึ่งที่ได้จากเทคโนโลยี NCQ ก็คือความรวดเร็วในการเรียงชุดคำสั่งแบบใหม่ที่เลือกคำสั่งที่ใกล้ก่อนทำให้ สมรรถภาพการทำงานของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) และระบบเร็วขึ้น (ทำงานคล้ายลิฟท์)
ความแตกต่างของ Parallel ATA และ Serial ATA

       สำหรับ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ที่มีการเชื่อมต่อบนมาตรฐาน Parallel ATA นั้นโดยปกติแล้วถูกออกแบบในสถาปัตยกรรมแบบเก่าที่ออกแบบเหมือนกับ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) รุ่นก่อนๆ สืบทอดกันมา เพียงแต่ปรับเปลี่ยนการทำงานอาทิ ความเร็วรอบการหมุนจานดิสก์ของมอเตอร์จาก 3200 รอบต่อนาที มาเป็น 5400 รอบต่อนาที และจาก 5400 รอบต่อนาที มาเป็น 7200 รอบต่อนาที ปรับเปลี่ยนการส่งข้อมูลจาก PIO มาเป็น DMA และ Ultra DMA โดย DMA ในที่นี้หมายถึงระบบการถ่ายโอนข้อมูลของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ที่แต่ละครั้งสามารถบรรทุกข้อมูลจาก Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไปสู่แรมได้เลยโดยไม่ไปยุ่งเกี่ยวการทำงานของซีพียู ทำให้เกิดการถ่ายโอนข้อมูลได้เร็วกว่า PIO เพราะ PIO นั้นการถ่ายโอนข้อมูลในแต่ละครั้งจำต้องผ่านการประมวลผลจากซีพียูเสียก่อน ส่งผลให้กว่าจะได้ข้อมูลที่ต้องการมีความล่าช้ามาก
นอกจากนี้ยังมีการปรับเปลี่ยนสายแพจาก 40 เส้น มาเป็น 80 เส้นปรับมาตรฐานจาก IDE ไปสู่ระบบ E-IDE ซึ่งให้ค่าทางประสิทธิภาพการทำงานที่มากกว่าเดิม การปรับเปลี่ยนดังกล่าวสามารถที่จะทำให้ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ทำงานได้เร็วขึ้นก็จริงอยู่ แต่เมื่อมานั่งพิจารณาดูแล้วการทำงานที่ยังยึดมั่นอยู่กับสถาปัตยกรรมแบบเก่าบนมาตรฐาน Parallel ATA มักทำให้ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ที่มีอินเทอร์เฟซแบบ E-IDE ยังห่างไกลจากระบบของ SCSI ของระบบเครือข่ายอยู่ดี อีกทั้งการพัฒนาของระบบ E-IDE ยังเป็นปัญหาคอขวดที่ไม่สามารถพัฒนาให้เร็วพอได้ เช่น 33 เมกะไบต์ต่อวินาที, 66 เมกะไบต์ต่อวินาที, 100 เมกะไบต์ต่อวินาที, 133 เมกะไบต์ต่อวินาที ระดับความเร็วที่เพิ่มขึ้นต่างกันไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับระบบการถ่ายโอนข้อมูลแบบ SCSI ที่เป็นแบบ Ultra160 เมกะไบต์ต่อวินาที, Ultra 320 เมกะไบต์ต่อวินาที ดังนั้นบริษัทผู้ผลิต Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ทั้งหลายจึงได้คิดค้นที่จะทำการปรับเปลี่ยนระบบการส่งข้อมูลของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) แบบใหม่ขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า Serial ATA เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการถ่ายโอนข้อมูล
การส่งข้อมูลแบบ Parallel ATA
0------------>
0------------>
0------------>
0------------>
1------------>
0------------>
1------------>
1------------>
การส่งข้อมูลแบบ Parallel ATA นั้นจะส่งข้อมูลในแต่ละบิตแบบขนานกันไปแล้วนำข้อมูลที่ได้ในแต่ละสายสัญญาณมารวมกันเป็น (0 0 0 0 1 0 1 1 ) ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลในระบบแบบเก่าจนถึงปัจจุบันที่ก็ยังเป็นแบบ IDE และ E-IDE โดยใช้สายนำสัญญาณแบบ 40 เส้นและ 80 เส้น
การส่งข้อมูลแบบ Serial ATA
0 0 0 0 1 0 1 1 ------>
0 0 0 0 1 0 1 1 ------>
หากเป็นการส่งข้อมูลในแบบ Serial ATA ที่มีความเร็วตีคู่ SCSI โดยใช้สายสัญญาณ 7 เส้น ช่วยให้ระบบการทำงานสามารถที่จะเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลได้มากถึง 1.5 กิกะบิตต่อวินาที และต่อไปความเร็วจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเป็น 3.0 กิกะบิตต่อวินาที หรือมากกว่าในอนาคต อีกทั้งในปัจจุบันอินเทอร์เฟซนี้ยังแฝงไว้ด้วยเทคโนโลยี NCQ ที่ช่วยให้ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ฉลาดขึ้นในการส่งผ่านข้อมูลเพราะส่งต่อกันเป็นทอดๆ โดยหากเป็นข้อมูลชุดเดียวกันจะเข้าหาก่อนโดยไม่สนใจเรื่องคิวรันกันต่อเนื่อง จากที่กล่าวมาจึงสรุปได้เลยว่า คุณสมบัติของอินเทอร์เฟซ Serial ATA นั้นมีการทำงานที่เร็วกว่า Parallel ATA อีกทั้งต่อไปอินเทอร์เฟซนี้จะเป็นแกนหลักบนเมนบอร์ดแทนที่ IDEและ E-IDE ซึ่งเหมาะสมทั้งการใช้งานบนเครื่อง PC และ ระบบเครือข่ายขนาดย่อมที่มีงบประมาณไม่มาก หากคุณได้ลองสัมผัสดูแล้วจะรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง คุ้มค่ากับเงินที่เสียไปครับ
เทคโนโลยี Native Command Queuing (NCQ)
       สำหรับอินเทอร์เฟซ Serial ATA จัดเป็นเทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูลความเร็วสูงและกำลังจะกลายเป็นอินเทอร์เฟซมาตรฐานบน Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ของพีซีในปี 2005 ซึ่งเทคโนโลยี Native Command Queuing เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในกระบวนการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น ก็จะกลายเป็นมาตรฐานสำหรับ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ปี 2005 ด้วยเช่นกัน
โดยเทคโนโลยี NCQ จะช่วยให้ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไดร์ฟมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น ด้วยความสามารถในการปรับปรุงและจัดเรียงชุดคำสั่งใหม่ทั้งในกระบวนการอ่านและบันทึกข้อมูล เพื่อให้ไดรฟ์มีความเร็วและประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด สมมติว่าข้อมูลชุดเดียวกันมีการกระจายข้อมูลอยู่เต็ม Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไปหมด การเรียกใช้งานจึงเริ่มจาก 4 – 3 – 2 และ 1 ทำให้กว่าจะได้ข้อมูลที่ต้องการมาจนครบมักเกิดความล้าช้าไปพอสมควร แต่ถ้าหาก Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) Serial ATA ตัวนั้นมีเทคโนโลยี NCQ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเฟสแรกของ Serial ATA II และสามารถใช้งานร่วมกับ Serial ATA 1.0 ได้ กระบวนการทำงานจะมองว่าหากข้อมูลชุดนั้นเป็นชุดเดียวกัน จะรวมเอาจุดที่ใกล้กันไว้ก่อนโดยตัดลำดับความน่าจะเป็นออกไป ทำให้ว่องไวต่อการเรียกใช้งานมากขึ้น

จากที่กล่าวมาเป็นความแตกต่างระหว่างอินเทอร์เฟซ ซึ่งในการเลือกซื้อ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไดรฟ์เราจะเลือกเพียงแค่จุดนี้เพียงอย่างเดียวไม่ได้แต่ต้องมององค์ประกอบทางด้านอื่นๆด้วย อันได้แก่
ขนาดความจุของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์)
เรื่องขนาดความจุของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) นี้ค่อนข้างตัดสินใจได้ง่าย ซึ่งมีตัวเลขที่ระบุไว้ตามลาเบลไว้อย่างชัดเจน ปัจจุบันขนาดความจุที่มีจำหน่ายกันอยู่ที่ ระดับกิกะไบต์ เช่น 20, 30, 40, 60 ไปจนถึง 400 กิกะไบต์ แน่นอนเมื่อปริมาณความจุที่สูงขึ้นย่อมส่งผลให้ราคาต้องขยับตัวสูงตามไปด้วย สำหรับขนาดที่ ควรจะซื้อหามาใช้ในปัจจุบัน ควรเลือกซื้อให้เหมาะสมกับการใช้งาน และไม่ควรเพื่อพื้นที่ไว้ใช้งานมากจนเกินจำเป็น เพื่อประหยัดงบประมาณในกระเป๋าท่าน ได้อีกทางและสามารถที่จะใช้พื้นที่บน Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ได้อย่างคุ่มค้าอีกด้วย
ความเร็วรอบ
ความเร็วรอบสำคัญไฉนสิ่งที่ทำให้เห็นได้ชัดเจนก็คือการหมุนของวงล้อรถหากซอยถี่มากเท่าใด จะย่นระยะเวลาไปยังจุดหมายปลายทางมากขึ้นเท่านั้น ในทำนองเดียวกันกับ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ที่เมื่อความเร็วรอบยิ่งถี่เพียงใด จะทำให้ประสิทธิภาพในการเข้าถึงหรือค้นหาข้อมูลมีความรวดเร็วขึ้นตามไปด้วย ซึ่งปัจจุบันความเร็วรอบในการหมุนจานดิสก์มมาตรฐานพีซีและแล็บท็อปส่วนใหญ่ มาอยู่ที่ 7,200 รอบต่อนาที (3.5 นิ้ว) และ5,400 รอบต่อนาที (2.5 นิ้ว) นอกจากนี้การใช้งานที่สูงขึ้นไปอีกในระดับเอ็นเทอร์ไพช์อย่างเครื่อง เซิร์ฟเวอร์และเวิร์คสเตชั่น ความเร็วรอบในการหมุนที่จัดจ้านถึงระดับ 10,000 - 15,000 รอบต่อนาที ดูจะเหมาะกว่า เนื่องจากการใช้งานระดับการเข้าถึงและเรียกใช้มีความสำคัญมาก
หน่วยความจำบัฟเฟอร์
อีกวิธีที่ผู้ผลิต Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ในปัจจุบัน คือการใช้หน่วยความจำแคช หรือบัฟเฟอร์ (Buffer) เพื่อเป็นที่พักข้อมูลก่อนที่จะส่งไปยัง คอนโทรลเลอร์บนการ์ด หรือเมนบอร์ด สำหรับหน่วยความจำแคชที่ว่านี้จะทำงานร่วมกับ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) โดยในกรณีอ่านข้อมูล ก็จะอ่านข้อมูลจาก Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ในส่วนที่คาดว่าจะถูกใช้งานต่อไปหรือมีการเรียกใช้งานบ่อยครั้ง มาเก็บไว้ล่วงหน้า ส่วนในกรณีบันทึกข้อมูล ก็จะรับข้อมูลมาก่อน เพื่อเตรียมที่จะเขียนลงไปทันทีที่ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ว่าง แต่ทั้งหมดนี้จะทำอยู่ภายในตัว Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) เอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับซีพียูหรือแรมแต่อย่างใด หน่วยความจำแคชนี้ใน Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) รุ่นเก่าๆ ราคาที่ถูกมักจะมีขนาดหน่วยความจำเล็กตามลงไป เช่น 128 กิโลไบต์ หรือบางยี่ห้อก็จะมีขนาด 256-512 กิโลไบต์ แต่ถ้าเป็นรุ่นที่ราคาสูงขึ้นมา(ปัจจุบันนิยม) จะมีการเพิ่มจำนวนหน่วยความจำนี้เป็น 2 เมกะไบต์ไปจนถึง 8 เมกะไบต์ เลยทีเดียว ซึ่งจากการทดสอบพบว่า การมีขนาดหน่วยความจำแคช หรือ บัฟเฟอร์ที่เพิ่มขึ้น มีส่วนช่วยให้การทำงานของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) นั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้นตามไปด้วย ถึงแม้กลไกการทำงานของ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) รุ่นนั้นๆ จะช้ากว่าก็ตาม แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานของโปรแกรมที่มีการเรียก ใช้งานด้วยว่ามีการดึงทรัพยากรของระบบมากน้อยเพียงไร
การรับประกัน
อย่าลืมว่า Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) เป็นอุปกรณ์ที่ต้องทำงานตลอดเวลาที่มีการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ มีการเคลื่อนไหวต่างๆมากมายอยู่ภายในไดรฟ์และโอกาสที่จะเสียหายมีได้มาก โดยเฉพาะเรื่องของความร้อนและการระบายความร้อนที่ไม่ดีในเครื่อง ก็เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียหาย นอกจากนี้การเกิดกระแทกแรงๆ ก็เป็นสาเหตุหลักของการเสียหายที่พบได้บ่อยครั้ง ดังนั้น ปัจจัยที่ค่อนข้างสำคัญในการเลือกซื้อ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) คือ เรื่องระยะเวลาใน การรับประกัน สินค้า และระยะเวลาในการส่งเคลม โดยสังเกตจาก Void รับประกัน ซึ่งห้ามแกะออกเป็นเด็ดขาดไม่อย่างนั้นอาจทำให้ท่านเสียใจเพราะส่งเคลมไม่ได้
โดยทั่วไปแล้ว Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ส่วนใหญ่จะมีการรับประกันอยู่ในช่วง 1 หรือ 3 ปี ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ได้มีผู้ผลิตบางราย เช่น Seagate ปรับเปลี่ยนระยะเวลาโดยขยายเป็น 5 ปี จุดนี้ก็เป็นข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งที่มีให้ผู้ใช้อุ่นใจ ดังนั้นการเลือกซื้อควรเลือกระยะเวลารับประกันนานหน่อยเพราะคุ้มค่ากว่าการ ซื้อ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) มาเปลี่ยนใหม่ เนื่องจาก Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ที่เราจะนำใช้งานนั้น หาความแน่นอนไม่ได้ วันดีคืนดี Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) เจ้ากรรมอาจเสียลงไปดื้อๆ หากแต่ว่า Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ของท่านยังอยู่ในช่วงรับประกันก็ยังอุ่นใจได้ เพราะสามารถส่งซ่อมหรือแลกเปลี่ยนได้ แต่การรับประกันจะไร้ค่าลงไปทันทีเมื่อสัญลักษณ์ของการรับประกันฉีกขาด หรือถูก ลอกออกไป ฉะนั้นควรระมัดระวังไว้ด้วย การรับประกันในที่นี้ก็อาจจะต้องดูด้วยนะครับว่าเป็นการรับประกันจากที่ไหน จากร้านค้า หรือว่าจากดีลเลอร์ต่างๆ โดยจุดนี้ให้ดูถึงความมั่นคงของร้านด้วย ซึ่งถ้าหากร้านเกิดปิดกิจการไปล่ะยุ่งเลยเพราะไม่สามารถที่จะส่งคืนได้
       จากสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเทคนิคการเลือกซื้อ Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ไดรฟ์ ที่แม้ไม่ใช้มืออาชีพแต่ก็ได้เรียนรู้ว่าต้องดูอะไรบ้างในการเลือกซื้อทำให้แนวทางในการเลือกซื้อดูสดใสขึ้นครับ ทว่า Hard Disk (ฮาร์ดดิสก์) ที่เลือกซื้อโดยส่วนใหญ่นั้นเป็น OEM จึงไม่ต้องสนใจกับสิ่งที่แถมมามากนัก(เพราะมันไม่มีมาให้นอกจากไดรฟฺ์เปล่าๆ) นอกจากจำชื่อร้านและตัวแทนจำหน่ายที่จำหน่ายสินค้าให้กับเราไว้ให้ดีเท่านั้น เผื่อมีการติดต่อเมื่อมาส่งเคลมหรือเปลี่ยนสินค้าในภายหลังครับ