Printer การเลือกซื้อเครื่อง พริ้นเตอร์ อย่างไรให้โดนใจคุณ
มาทำความรู้จักกันก่อนดีกว่าครับว่า เครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ที่มีขาย หรือใช้งานกันในปัจจุบันนี้มีเครื่องพรินเอร์แบบใดกันบ้าง เราสามารถแบ่งเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ได้เป็น
1) เครื่องดอตเมตริกซ์พริ้นเตอร์ (Dotmatirx Printer)
2) เครื่องฟิล์มพริ้นเตอร์ (Film Printer)
3) เครื่องอิงค์เจ็ตพริ้นเตอร์ (Inkjet Printer)
4) เครื่องมินิพริ้นเตอร์ (Mini Printer)
5) เครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์ (Laser Printer)
6) เครื่องไลน์พริเตอร์ (Line Printer)
7) เครื่องมัลตฟังก์ชัน (Multifunction Printer) หรือ All-In-One (AIO)
8) เครื่องพล็อตเตอร์ (Plotter)
ในการเลือกซื้อ Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายๆอย่างประกอบกัน ซึ่งในแต่ละองค์ประกอบนั้นมีความสำคัญไม่แพ้กัน ในการเลือกซื้อ ตรงนี้จะทำให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์สูงสุด คือเกิดความคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปแต่ที่แน่ ๆ สิ่งแรกควรพิจารณาจากการใช้งานเป็นหลักว่า ผู้ใช้ต้องการPrinter พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ไปใช้งานประเภทใดเป็นส่วนใหญ่ เพราะพริ้นเตอร์แต่ละรุ่นเน้นการทำงานที่ต่างกันในตลาดเมืองไทยของเรามี พริ้นเตอร์ให้เลือกซื้ออยู่มากมายหลายรุ่น หลาก หลายประเภทโดยแต่ละรุ่นก็มีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของราคา การใช้งาน ส่วนในประเภทของ Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ นั้นที่เห็นอย่างชัดเจนในปัจจุบัน มีอยู่ ด้วยกันถึง 4 ประเภท เนื่องจาก Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ มีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ มีการเพิ่มเติมเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น การใช้งานมีความ หลากหลายมากขึ้นจนตอนนี้เครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องพิมพ์ธรรมดาไปเสียแล้ว เช่น ในบ้างรุ่นสามารถพิมพ์งานด้านกราฟิกที่มีความละเอียดสูงๆ พิมพ์ภาพถ่ายได้แล้ว จากประเภทของพริ้นเตอร์ที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วนั้นแบ่งได้ดังนี้ครับ
เครื่องดอตเมตริกซ์พริ้นเตอร์ (Dotmatix Printer) เหมาะสมสำหรับห้างร้าน ผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางหรือผู้ใช้ที่ต้องการเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ที่สามารถ ทำสำเนาได้
เครื่องดอตเมตริกซ์พริ้นเตอร์ (Dotmatix Printer) นี้การพิมพ์โดยใช้หัวเข็มครับ ไม่ได้ใช้เป็นหัวพ่นจึงไม่จำเป็นจะต้องซื้อน้ำหมึกแต่ต้องซื้อผ้าหมึกแทน คล้ายๆ กับ เครื่องพิมพ์ดีดแบบปกติทั่วไป ทำให้ผู้ใช้ประหยัดเงินค่าซื้อน้ำหมึกไปได้มาก เนื่องจากผ้าหมึกมีอายุการใช้งานสูงกว่าใช้น้ำหมึกมากหลายเท่า เหมาะกับการใช้ งานในสำนักงานที่ต้องการใช้พิมพ์เพียงเอกสารแบบปกติ อย่างพวกใบเสร็จต่างๆ และงานพิมพ์ทั่วไป ในด้านการใช้งานตัวเครื่องมีความยืดหยุ่นสูง สามารถใช้ ได้กับกระดาษหลายประเภท ในการเลือกซื้อพริ้นเตอร์ประเภทนี้เรื่องความละเอียดในการพิมพ์เรามองข้ามไป ได้เลยครับเพราะปกติของ Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ Dotmatix ค่าความละเอียดสูงสุดแล้วอยู่ที่ 360x360 จุดต่อตารางนิ้วทั้งหมด (ที่มีจำหน่ายอยู่ในตลาดบ้านเราครับ) จำนวนหัวเข็มของเครื่องพิมพ์จะมีตั้งแต่ 24 หัวเข็ม 32 หัวเข็ม ยิ่งจำนวนหัวเข็มมากก็จะทำให้งานที่พิมพ์ออกมามีความละเอียดขึ้น ความเร็วในการพิมพ์ตัวอักษรมีตั้งแต่ 192 ต่อCPS, 240, 264, 300, 360, 375, 390, 400, 432, 450 จนถึง 504 ต่อCPS (CPS คือ ความเร็วในการพิมพ์ตัวอักษรต่อนิ้ว) เห็นได้ว่าเพียงความเร็วในการพิมพ์ตัวอักษรก็มีให้เลือก มากแล้ว ส่วนนี้คงอยู่ที่ความพอใจของผู้ซื้อเองว่าจะเลือกความเร็วที่เท่าไรค่าความ ต่างในการพิมพ์ไม่ได้ต่างกันมากเพียงไม่กี่วินาทีต่อแผ่น
| | |
Epson LQ-300+ | Fujisu DL3800Pro | Nec P2000 |
| |
Oki Microline 390 Turbo | Panasonic KX-P1131 |
เครื่องอิงค์เจ็ตพริ้นเตอร์ (Inkjet Printer) เหมาะสมสำหรับการใช้งานโดยรวม สามารถพิมพ์เอกสาร รูปภาพที่เป็นขาว-ดำ และสีได้
เครื่องอิงค์เจ็ตพริ้นเตอร์ (nkjet Printer) เป็นประเภทที่เหมาะสมกับผู้ใช้ทั่วไปทุกระดับตั้งแต่นักเรียน นักศึกษา ไปจนถึงสำนักงานใหญ่ ๆ และกำลังได้รับความ นิยมมากที่สุดในตลาดบ้านเราขณะนี้ เนื่องจากมีราคาตั้งแต่ไม่กี่พันบาท ไปจนถึงหลักหมื่นเลยที่เดียวสำหรับการเลือกซื้อเครื่องประเภทนี้จำเป็นต้อง ดูอะไร หลายๆอย่างประกอบกัน เหมือนเดิมครับว่าต้องดูการใช้งานของผู้ใช้เป็นหลักว่าต้องการใช้เครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ประเภทนี้เน้นในด้านใดเป็นหลัก อันนี้ก็สืบเนื่องมา จากว่าเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ประเภทนี้มีขายในตลาดบ้านเรามากมายหลายรุ่นจริงๆ ในแต่ละรุ่นมีการทำงานที่แตกต่างกันหลายอย่างเลยทีเดียว คือมีจุดเด่นที่แตกต่าง กันนั้นเอง พริ้นเตอร์ประเภทInkjet พิมพ์งานโดยใช้ตลับน้ำหมึก เวลาเลือกซื้อต้องดูด้วยว่ารุ่นนี้ใช้ตลับน้ำหมึกแบบไหนรุ่นอะไร ตลับสีและดำ ราคาเท่าไรแต่ ละแบรนด์ราคาตลับหมึกถูกบ้างแพงบ้างต่างกันไป อย่างบางรุ่นราคาพริ้นเตอร์ไม่แพงมากแต่ราคาตลับเป็นพันบาทก็มี ตรงส่วนนี้ต้องดูให้ละเอียดครับ
เรื่องของคุณภาพของน้ำหมึกมีขอแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยบ้างรุ่นตลับสี แบบรวมไม่ได้แยกเป็นสี ตรงจุดนี้แบบรวมจะมีข้อเสียเล็กน้อยที่ถ้าตลับสีแบบ รวมสีหนึ่งสีใดหมดต้องเปลี่ยนทั้งตลับเลย ไม่เหมือนกับแบบแยกสีที่ถ้าสีใดหมดก็เปลื่ยนเพียงสีนั้นสีเดียวได้แต่ ปัจจุบัน รุ่นใหม่ๆที่ใช้ตลับหมึกสีแบบรวมมี เทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้น้ำหมึกสีหมดแบบพอๆกัน เพื่อนำมาแก้ปัญหาตรงจุดนี้ หากผู้ใช้เน้นทำงานกราฟิกเป็นส่วนใหญ่ขอแนะนำให้ใช้พริ้นเตอร์ที่มีตลับหมึก สี แยกจะดีกว่าเพราะจะประหยัดกว่ามากครับ ส่วนผู้ใช้ที่เน้นการทำงานปกติ มีพิมพ์ภาพบ้างใช้แบบตลับหมึกสีรวมก็พอแล้วครับ
| |
Canon PIXMA iP90 | Epson Stylus Photo R800 |
| |
HP Photosmart 8150 | Lexmark P915 |
พอร์ตการเชื่อมแบบ PicBridge สำหรับเชื่อมต่อโดยตรงกับกล้องดิจิตอล และสั่งพิมพ์รูปภาพได้ทันที | Card Reader ที่ติดตั้งมาบนตัวเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ทำให้เพิ่มความสะดวกในการทำงานยิ่งขึ้น | เครื่องอิงค์เจ็ตพริ้นเตอร์บางรุ่นยังสามารถพิมพ์รูปภาพลงบนแผ่น CD หรือ DVD ได้อีกด้วย |
เครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์ (Laser Printer) เหมาะสมกับการใช้งานร่วมกันในผู้ใช้ทั่วไปที่ต้องการความละเอียด สำนักงานขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่มี งานเอกสารปริมาณที่มาก
เครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์ (Laser Printer) นับว่ามีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อยเลยในตลาดบ้านเราเมื่อเทียบกับการทำงานทั่ว ไปของพริ้นเตอร์ประเภทนี้กับ เครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ ประเภท Inkjet จุดแตกต่างที่เห็นกันอย่างชัดเจนคงต้องเป็นในเรื่องของปริมาณการพิมพ์ที่ พริ้นเตอร์ประเภทเลเซอร์ สามารถพิมพ์ได้จำนวน มากกว่า ใส่กระดาษได้มาก รวดเร็วกว่าในการพิมพ์ในจำนวนมากๆ มีความคมชัดสูงทั้งพิมพ์สี ขาวดำและยังสามารถแชร์การทำงานกับผู้ใช้หลายคนได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากกว่าประเภทอื่น ในปัจจุบันนี้เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์พริ้นเตอร์ได้มีการนำออกมาวางจำหน่าย กันมากมายหลายรุ่น โดยในแต่ละรุ่นก็จะมี ประสิทธิภาพและฟังก์ชันในการทำงานที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อเลเซอร์พริ้นเตอร์ที่เหมาะสมกับ ลักษณะงานและปริมาณงานในองค์กร ของตนให้มากที่สุด ส่วนในเรื่องของราคานั้นอาจจะมีราคาสูงนิดหน่อย แต่ก็คุ้มค่าครับ กับประสิทธิภาพที่ดีกว่ามีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง ส่วนในการเลือก ซื้อควรดูที่ฟังก์ชันการทำงานเป็นหลักว่าเหมาะสมกับงานของเราหรือเปล่า ถ้ามีฟังก์ชันมากก็จะทำให้ผู้ใช้สะดวกมากขึ้น สำหรับในการทำงานร่วมกันหลายคน
เครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ เครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์ขาว-ดำ (Monochome Laser Printer) และเครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์สี (Color Laser Printer)
Brother HL-5150D | Epson AcuLaser C3000N | HP Color LaserJet 2550L |
Fuji Xerox DocuPrint C525A | Konica Minolta PagePro 1300W |
โทนเนอร์ก็มีส่วนสำคัญครับ ถ้าราคาโทนเนอร์แพงก็ไม่คุ้มค่าที่จะใช้งานต้องระมัดระวังในส่วนนี้ด้วย กระดาษที่ใช้กับเครื่อง Laser สามารถใช้ กระดาษขนาด A4 บางรุ่นก็สามารถพิมพ์กระดาษขนาด A3 ได้ ส่วนถาดใส่กระดาษใน Laser บางรุ่นสามารถเพิ่มถาดกระดาษได้ เหมาะสำหรับงานที่มี ปริมาณเอกสารมาก ไม่ต้องกังวลว่าปริมาณกระดาษจะพอไหม ในส่วนการใช้งาน Laser พริ้นเตอร์แบบขาว- ดำเหมาะสำหรับผู้ใช้ที่เน้นงานเอกสารเป็นหลัก ไม่ต้องการพิมพ์รูปภาพ หรือข้อความที่เป็นสี ทำให้ได้ตัวอักษรที่คมชัดกว่าเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ Inkjet หลายเท่า ส่วน Laser พริ้นเตอร์แบบสีเหมาะสำหรับผู้ใช้ ที่เน้นงานด้านรูปภาพ แต่ก็มีงานด้านเอกสารด้วย
เครื่องมัลติฟังก์ชัน (Multifunction) หรือ All-In-One (AIO) น้องใหม่ที่ออกมาพร้อมอุปกรณ์ทำงานที่ครบเครื่องทั้ง พิมพ์ สแกน ก๊อปปี้ และส่งแฟกซ์ คุ้มค่ากับราคาที่น่าลอง
ก่อนอื่นเรามาเริ่มทำความรู้จักกับอุปกรณ์นี้กันก่อน สำหรับเครื่องมัลติฟังก์ชันหรือออลอินวันจะเป็นการนำเอาความสามารถและ ฟังก์ชันการทำงานของ อุปกรณ์ต่อพ่วงหลัก ๆ มารวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างครบชุด ซึ่งประกอบไปด้วย เครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ เครื่องสแกนเนอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องแฟกซ์ แต่สำหรับ เครื่องมัลติฟังก์ชั่นในบางรุ่นอาจจะไม่ได้รวมเอาเครื่องแฟกซ์มาด้วยก็ได้ แต่หลัก ๆ อย่างไรก็สามารถพิมพ์งาน สแกน และถ่ายเอกสารได้ครับ
ส่วนการทำงานของเครื่องมัลติฟังก์ชันมีการพัฒนาในเรื่องของการทำงาน ให้มีการทำงานร่วมกันได้อย่างเต็มที่มากขึ้น อย่างที่เราจะเห็นได้จาก ฟังก์ชันในการถ่ายเอกสารนั่นเองซึ่งจะเป็นการประสานงานในการทำงานร่วมกัน ระหว่างเครื่องสแกนเนอร์กับพริ้นเตอร์ นอกจากนี้ยังได้มีการเพิ่มฟังก์ชัน ในการสั่งงานบางอย่างที่จะช่วยให้การถ่ายเอกสารทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบมาก ขึ้นด้วย อย่างเช่น การย่อหรือขยายเอกสาร การทำสำเนา หรือจะเป็นการปรับ เลือกโหมดการถ่ายเอกสารสีหรือการถ่ายเอกสารขาว-ดำได้ เป็นต้น
ส่วนเครื่องมัลติฟังก์ชันที่มีแฟกซ์ในตัวเราจะสังเกตได้จากแผงควบคุม ที่จะมีปุ่มสำหรับกดเลขหมายโทรศัพท์ได้ครับ สำหรับกลุ่มผู้ใช้ที่เหมาะสำหรับ เครื่องมัลติฟังก์ชันนี้จะมีทั้ง กลุ่มธุรกิจองค์กรทั้งขนาดเล็กและขนาดกลาง โฮมออฟฟิศ และกลุ่มผู้ใช้งานตามบ้าน ซึ่งสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานตามบ้านนั้นในตอนนี้ กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะทางผู้ผลิตทั้งหลายต่างก็ได้ส่งเครื่องมัลติฟังก์ชันราคาประหยัดลงมาทำ ตลาดกัน ซึ่งจะมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ สี่พันกว่าบาทเท่านั้น และเมื่อลองเทียบกันกับการซื้อพริ้นเตอร์และสแกนเนอร์แบบแยกชิ้นแล้ว จะเห็นได้ว่ามีราคาต่างกันไม่มาก แต่เมื่อดูถึงจุดเด่นของ มัลติ ฟังก์ชันที่ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งกว่า และสามารถถ่ายเอกสารทั้งสีทั้งขาว-ดำได้แล้วถือว่าเป็นตัวเลือกใหม่ที่น่า สนใจทีเดียว
| | |
Brother MFC-620CN | Canon PIXMA IP780 | Epson Stylus CX6500 |
| |
HP Officejet 6210 | Lexmark X7170 |
อย่างเช่นถ้าที่ออฟฟิศของคุณมีเครื่องแฟกซ์อยู่แล้วก็ควรเลือกซื้อ เครื่องมัลติฟังก์ชันแบบที่ไม่มีแฟกซ์ในตัวมาใช้ ซึ่งราคาส่วนต่างระหว่างรุ่นที่มี แฟกซ์กับไม่มีแฟกซ์จะต่างกันค่อนข้างมากอยู่ ส่วนในเรื่องของความละเอียดในการพิมพ์และการสแกนงานนั้น ในการเลือกซื้อให้ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานด้วย อย่างถ้ามีความจำเป็นต้องมีการใช้งานเกี่ยวกับด้านกราฟิกบ้าง เครื่องมัลติฟังก์ชันที่มีความละเอียดสูง ๆ ก็จะเหมาะสมกับงานแบบนี้มากกว่า หรือถ้าหากมีการใช้ งานการพิมพ์หรือการสแกนที่ต้องการความละเอียดสูงจริง ๆ หรือมีการใช้งานเป็นประจำ อันนี้ควรจะเลือกซื้อแบบแยกชิ้นไปเลยดีกว่า เพราะในการใช้งานแบบ เฉพาะเจาะจงนั้นอุปกรณ์แบบแยกชิ้นย่อมทำงานได้ดีกว่าเสมอ เราต้องอย่าลืมว่า เครื่องมัลติฟังก์ชันนั้นถูกออกแบบมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก และเพื่อเพิ่ม ความคล่องตัวในการทำงานให้มากขึ้นครับ แต่ถ้าจะเลือกซื้อมัลติฟังก์ชันความละเอียดมีตั้งแต่ 600 x 600 จุดต่อตารางนิ้ว, 1200 x 1200 ตารางนิ้ว ความ สามารถในการพิมพ์ขาว-ดำ 12 แผ่นต่อนาทีขึ้นไป พิมพ์สี 10 แผ่นต่อนาทีขึ้นไป ส่วนความละเอียดในการสแกนตั้งแต่ 600 x 1200 จุดต่อตารางนิ้ว ยิ่งมากยิ่ง สแกนได้ความละเอียดสูงครับ จำนวนบิตสีก็สำคัญส่วนใหญจะประมาณ 48 บิตสี บางรุ่นยังสามารถสแกนแล้วย่อ – ขยายได้ตั้งแต่ 25% - 400% ในส่วนนี้ เป็นส่วนเพิ่มเติมครับ หน่วยความจำในเครื่องมัลติฟังก์ชันก็สำคัญควรจะมีประมาณ 16 MB ขึ้นไปครับ จะได้ช่วยประมวลผลในการพิมพ์ได้เร็วขึ้น การเชื่อม ต่อสามารถเลือกได้ว่าต้องการแบบใด Parallel, USB 1.1/2.0, FireWire และ Ethernet ขอแนะนำให้ใช้ USB 1.1/2.0 เพราะราคาไม่สูงมากนัก แต่ถ้า ต้องการความเร็วในส่งข้อมูลที่สูงขึ้นแนะนำ FireWire ครับ ฟังก์ชันในการใช้งานในตอนนี้มัลติฟังก์ชันมีสามารถในการพิมพ์ภาพจากกล้อง ดิจิตอล หรือสื่อ บันทึกข้อมูล Memory Stick, MutiMedia Card(MMC), Secure Disk(SD), CompactFlash(CF) และ XD-Cart
สำหรับเครื่องมัลติฟังก์ชันในปัจจุบันนั้นมีการพัฒนาขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีในการพิมพ์ที่มีความละเอียดในการพิมพ์ที่สูงขึ้น สามารถพิมพ์รูปภาพได้สวยขึ้น ไม่แพ้เครื่องอิงค์เจ็ตพริ้นเตอร์, ในเรื่องของความสามารถในการพิมพ์ก็เช่นเดียวกันครับ เครื่องมัลติฟังก์ชันมีความเร็วในการพิมพ์ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถพิมพ์ได้ไวขึ้น, ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับเครื่องมัลติฟังก์ชันก็มีความง่ายต่อการใช้งานยิ่งขึ้น โดยจะมีโปรแกรมที่ช่วยเหลือในการพิมพ์ให้เป็นเรื่องง่ายขึ้ ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์งาน การสแกนรูปภาพ หรือการทำสำเนา และรวมทั้งการรับ-ส่งแฟกซ์ โดยที่การทำงานต่างๆ เหล่านี้สามารถควบคุมการทำงานได้ทั้งจากเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านทาง ซอฟต์แวร์ควบคุม หรือว่าจะเป็นการสั่งงานผ่านทางหน้าจอควบคุม และปุ่มควบคุมทางด้านบนของตัวเครื่อง, การทำงานของเครื่องมัลติฟังก์ชันก็มีมีความสามารถอื่นๆ เพิ่มเติมอีก ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์เอกสาร 2 หน้าอัตโนมัติโดยที่ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม เพราะได้ติดตั้งไว้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานกับตัวเครื่องแล้ว ซึ่งบางรุ่นก็ยังได้เพิ่มเติมความสามารถในการพิมพ์รูปภาพ หรือข้อความลงบนแผ่น CD หรือ DVD อีกด้วย
ประเภทของเครื่อง Printer พริ้นเตอร์ หรือ ปริ้นเตอร์ สำหรับงานแต่ละประเภท | |
สำหรับงานพิมพ์เอกาสารธรรมดา ขาว-ดำที่ต้องการสำเนา | เครื่องดอตเมตริกซ์พริ้นเตอร์( Dot Matrix Printer) |
สำหรับงานพิ์พ์เอกสารธรรมดาขาว-ดำ และสี รูปภาพ ภาพถ่าย | เครื่องอิงค์เจ็ทพริ้นเตอร์ (InkJet Printer) |
สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการความรวดเร็ว คมชัด | เครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์ขาว-ดำ (Mono Laser Printer) |
สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการความรวดเร็ว คมชัด และต้องการพิมพ์สี | เครื่องเลเซอร์พริ้นเตอร์สี (Color Laser Printer) |
สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการพิมพ์เอกสารธรรมดาขาว-ดำ และสี พร้อมด้วยการสแกน ทำสำเนา และส่งแฟกซ์ | เครื่องมัลติฟังก์ชัน (Multifunction Printer) |